อิทธิพลของน้ำหมักชีวภาพต่อการปลดปล่อยธาตุอาหารพืชจากฟางข้าว

Main Article Content

ชนากานต์ แย้มฎีกา
ผานิตย์ นาขยัน
สาวิกา กอนแสง
ภาวิณี อารีศรีสม
วีณา นิลวงศ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของชนิดน้ำหมักชีวภาพ ความเข้มข้น และอัตราส่วนฟางข้าวต่อน้ำหมักชีวภาพต่อการเปลี่ยนแปลงและการปลดปล่อยธาตุอาหารพืชจากฟางข้าว โดยวางแผนการทดลองแบบ 3×3×2 Factorial in CRD จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วยปัจจัยที่ 1 คือ ชนิดของน้ำหมักชีวภาพ ได้แก่ 1) น้ำหมักปลา 2) น้ำหมักสับปะรด และ 3) สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ที่ขยายเชื้อ ปัจจัยที่ 2 คือ ความเข้มข้นของน้ำหมักชีวภาพ ได้แก่ 1) ไม่มีการเจือจาง 2) เจือจาง 10 เท่า และ 3) เจือจาง 15 เท่า และปัจจัยที่ 3 คือ อัตราส่วนฟางข้าวต่อน้ำหมักชีวภาพ ได้แก่ 1:10 และ 1:25 ทำการหมักที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า ชนิดของน้ำหมักชีวภาพ ความเข้มข้นของน้ำหมักชีวภาพ และอัตราส่วนฟางข้าวต่อน้ำหมักชีวภาพมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงและปลดปล่อยธาตุอาหารพืชจากฟางข้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กรรมวิธีการใช้น้ำหมักปลาที่ไม่เจือจาง อัตราส่วนฟางข้าวต่อน้ำหมักชีวภาพ 1:10 ทำให้มีปริมาณไนโตรเจนสูงที่สุดทั้งในส่วนของฟางข้าวและสารละลายที่ได้จากการหมักเท่ากับ 1.96% และ 0.40% และเมื่อเจือจางน้ำหมักปลา 10 เท่า อัตราส่วนฟางข้าวต่อน้ำหมักชีวภาพ 1:10 และ 1:25 ทำให้มีปริมาณฟอสฟอรัส (2.16% ในฟางข้าว และ 0.11% ในสารละลาย) และแคลเซียมทั้งหมด (0.11% ในสารละลาย) สูงที่สุด ในขณะที่กรรมวิธีการใช้ พด.2 ที่ไม่เจือจางและเจือจาง 10 เท่า ในอัตราส่วนฟางข้าวต่อน้ำหมักชีวภาพ 1:10 และ 1:25 ทำให้ปริมาณโพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมทั้งหมดในฟางข้าวและสารละลายหลังหมักสูงที่สุด ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าชนิดของน้ำหมักชีวภาพ ความเข้มข้น และอัตราส่วนของฟางข้าวต่อน้ำหมักชีวภาพมีผลต่อประสิทธิภาพการย่อยสลายและปลดปล่อยธาตุอาหารพืชจากฟางข้าวที่แตกต่างกันออกไป โดยสูตรที่เหมาะสำหรับการผลิตปุ๋ยหมักฟางข้าวที่มีปริมาณธาตุอาหารหลัก (ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) สูงที่สุดได้แก่ การหมักด้วยน้ำหมักปลาที่ไม่เจือจาง อัตราส่วนฟางข้าวต่อน้ำหนักชีวภาพ 1:10 เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2553. คู่มือปฏิบัติงาน กระบวนการวิเคราะห์พืช ปุ๋ย และสิ่งปรับปรุงดิน. กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2558. คูมื่อการพัฒนาที่ดิน สำหรับหมอดินอาสาและเกษตรกร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2554. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

บังอร อุบล ชัยสิทธ์ ทองจู จุฑามาศ ร่มแก้ว และศุภชัย อำคา. 2559. ผลของการจัดการตอซังข้าวร่วมกับการเตรียมดินและชนิดของปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตผลผลิตข้าว และสมบัติของดินบางประการ. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 3(2): 39-49.

พันธ์ทิพย์ กล่อมเจ๊ก และปฐมพร น้อยจันทร์. 2561. การศึกษาคุณภาพของปุ๋ยหมักจากการหมักร่วมระหว่างฟางข้าวและน้ำเสียฟาร์มสุกร. วารสารวิทยาศาสตร์และทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 37(5): 647-658.

วิภาดา ศิริอนุสรณ์ศักดิ์ และนุษรา สินบัวทอง. 2556. การปรับสภาพฟางข้าวทางเคมีเพื่อเป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลังงานทดแทน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สำนักนิเทศและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน. 2550. การขยายเชื้อจุลินทรีย์ในสารเร่ง พด.1 พด.2 พด.3 ของกรมพัฒนาที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ.

โสฬส แซ่ลิ้ม. 2559. ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย. แหล่งข้อมูล http: //www1.ldd.go.th/WEB_PSD/Employee%20Assessment/wean/pch/pch38/3.pdf (28 พฤศจิกายน 2562).

อนุสรา สมรัก. 2560. ความรู้และการปฏิบัติของเกษตรกรผู้เข้าอบรมการลดการเผาตอซังพืช ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อัจฉรา เพิ่ม อัสมา มาลินี และ ฮุสนา ดอเลาะ. 2561. ฤทธิ์ของน้ำหมักชีวภาพจากสับปะรด มะเขือเทศผลยอ และผลไม้รวมในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ Staphylococcus aureus และ Salmonella Typhimurium. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์. น. 1,093-1,101.

อัจฉราวดี เครือภักดี. 2552. ผลของการเตรียมดิน การใช้ตอซังและปุ๋ยหมักฟางข้าวต่อผลผลิตข้าวอินทรีย์และพลวัตของอินทรีย์คาร์บอนในดินนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

AOAC. 1980. Official Methods of Analysis of AOAC. Available: https://archive.org/details/gov.law.aoac.methods.1980/page/n775/mode/2up (August 30, 2020).

Lalremruati M. and A.S. Devi. 2021. Changes in physico-chemical properties during composting of three common household organic solid wastes amended with garden soil. Bioresource Technology Reports. 15: 1-7.

Li C., H. Li, T. Yao, M. Su, F. Ran, B. Han, J. Li, X. Lan, Y. Zhang, X, Yang and S. Gun. 2019. Microbial inoculation influences bacterial community succession and physicochemical characteristics during pig manure composting with corn straw. Bioresource Technology. 289: 1-11.

Nie, E., G. Ding and Z. Guodi. 2020. Effects of lactic acid on modulating the ammonia emissions in co-composts of poultry litter with slaughter sludge. Bioresource Technology. 315: 1-10.

Romasanta, R.R., B.O. Sander, Y.K. Gaihre, M.C. Alberto, M. Gummert, J. Quilty, V.H. Nguyen, A.G. Castalone, C. Balingbing, J. Sandro, T.C. Jr and R. Wassmann. 2017. How does burning of rice straw affect CH4 and N2O emissions? A comparative experiment of different onfield straw management practices. Agriculture, Ecosystems and Environment. 239: 143-153.