ผลของความเร็วรอบในการเคลือบและระยะเวลาการเก็บรักษาต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเร็วรอบในการเคลือบด้วยเครื่องเคลือบแบบจานหมุนและระยะเวลาการเก็บรักษาต่อความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง ณ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดสิ่งทดลองแบบ 4×4 Factorial ในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ มี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัย A คือ ความเร็วรอบในการเคลือบเมล็ดพันธุ์ ได้แก่ เมล็ดที่ไม่เคลือบ (ควบคุม) เมล็ดที่เคลือบด้วยความเร็วรอบที่ 76 รอบต่อนาที เมล็ดที่เคลือบด้วยความเร็วรอบที่ 117 รอบต่อนาที และเมล็ดที่เคลือบด้วยความเร็วรอบที่ 151 รอบต่อนาที ปัจจัย B คือ ระยะเวลาการเก็บรักษา ได้แก่ 0 2 4 และ 6 เดือน บรรจุเมล็ดในถุงพลาสติกและนำไปเก็บรักษาในสภาพห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิ (15 °C; 50% RH) ผลการทดลองพบว่าการเคลือบเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองด้วยเครื่องเคลือบแบบจานหมุนที่ความเร็วรอบที่แตกต่างกันพบว่ามีความงอกในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพโรงเรือนหลังการเคลือบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 89% เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกรรมวิธีการเคลือบพบว่า การเคลือบที่ความเร็วรอบ 151 รอบต่อนาที มีผลทำให้ความงอกในสภาพห้องปฏิบัติการ ดัชนีการงอก ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ และความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์ มีความแตกต่างกันทางสถิติกับกรรมวิธีการเคลือบอื่น ๆ และเมล็ดที่ไม่เคลือบสาร (p≤0.05) เมื่อพิจารณาถึงอายุการเก็บรักษาพบว่าเมล็ดถั่วเหลืองที่ผ่านการเคลือบและไม่เคลือบ เมื่อเก็บรักษาเป็นระยะเวลา 6 เดือน มีผลทำให้ความงอกในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพโรงเรือนลดลง รวมถึงความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ที่มีค่าลดลงด้วยเช่นกัน เมื่อพิจารณาอิทธิพลร่วมระหว่างความเร็วรอบที่ใช้ในการเคลือบและระยะเวลาการเก็บรักษาพบว่า มีอิทธิพลร่วมกันต่อความงอกในสภาพห้องปฏิบัติการและสภาพโรงเรือน และดัชนีการงอก โดยพบว่าเมล็ดที่ผ่านการเคลือบที่ความเร็วรอบที่ 151 รอบต่อนาที และมีการเก็บรักษาเป็นระยะเวลา 4-6 เดือน มีผลทำให้คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดที่ไม่ได้เคลือบ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จวงจันทร์ ดวงพัตรา. 2529. เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์. กลุ่มหนังสือเกษตรกร, กรุงเทพฯ.
จักรพงษ์ กางโสภา. 2562. การเคลือบเมล็ดพันธุ์. วารสารผลิตกรรมเกษตร 1(2): 63-76.
ธิดารัตน์ แก้วคำ ทองลา ภูคำวงศ์ ยงยุทธ ข้ามสี่ จักรพงษ์ พิมพ์พิมล และดวงใจ น้อยวัน. 2565. ผลของการเคลือบด้วยเครื่องเคลือบแบบจานหมุนต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไร่หลังการเก็บรักษา. แก่นเกษตร 1(ฉบับพิเศษ): 501-507.
บุญมี ศิริ ปราณี แก้วกลาง และวิทวัส วรพันธรรมกุล. 2555. ผลของการเคลือบเมล็ดด้วยธาตุอาหารพืชต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุม์ ะเขือเทศลูกผสม. วารสารแก่นเกษตร 40(ฉบับพิเศษ): 171-176.
บุญมี ศิริ. 2558. การปรับปรุงสภาพและการยกระดับคุณภาพเม็ดพันธุ์. ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
พระราชบัญญัติพันธุ์ พืช. 2518. ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพ และวิธีเก็บรักษาเมล็ดพันธุค์ วบคุม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษที่ 148ง, หน้า 32-33.
วันชัย จันทรป์ ระเสริฐ. 2538. สรีรวิทยาเมล็ดพันธุ์. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 213 หน้า.
วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2542. เทคโนโลยีเมล็ดพืชไร่. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน. 2561. ฐานข้อมูลเพื่อการวางแผนการผลิตสินค้าเกษตร จังหวัดแม่ฮ่องสอน. แหล่งข้อมูล: https://www.opsmoac.go.th/maehongson-dwl-preview-421591791894 (22 เมษายน 2565).
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุโขทัย. 2560. ถั่วเหลือง เรื่องข้อมูลเพื่อการวางแผนสินค้าเกษตรจังหวัดสุโขทัย. แหล่งข้อมูล: https://www.opsmoac.go.th/sukhothai-dwl-files-401891791927 (20 เมษายน 2565).
ISTA. 2017. International Rules for Seed Testing, International Seed Testing Association, Bassersdof, Switzerland.
Shelar, V.R., R.S. Shaikh and A.S. Nikam. 2008 Soybean seed quality during storage: a review. Agriculture Reviews 29(2): 125-131.
Simone, P., B. Alma, D.M. Matthew, B. Khiraj, P.H. Stuart, W.D. Kingsley and A.K. Olga. 2020 Seed enhancement: getting seeds restorationready. Restoration Ecology 28(S3): 266-275.
Steven, P.C. Groot. 2017. Seed storage Don’t waste your efforts. Available: https://www.researchgate.net/publication/320502151 (22 April 2022).