โมเดลการส่งเสริมการปลูกผักในเมืองเพื่อสุขภาวะของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เสาวรัจ นิลเนตร
บำเพ็ญ เขียวหวาน
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
ทิพวรรณ ลิมังกูร

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมการปลูกผักในเมืองเพื่อสุขภาวะของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ จำนวน 201 คน เจหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร จำนวน 107 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 30 คน และองค์กร 6 องค์กร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสัมมนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา สถิติเปรียบเทียบ และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 69.53 ปี สุขภาวะภาพรวมอยู่ระดับมาก ความรู้ด้านการปลูกผักอยู่ระดับปานกลาง ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปลูกและการบริโภคผักภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะการปลูกผักภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ความต้องการด้านเนื้อหาการปลูกผักภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความต้องการด้านสื่อภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โมเดลการส่งเสริมการปลูกผักในเมืองเพื่อสุขภาวะของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร มีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ การวางแผน การดำเนินการส่งเสริม การตรวจสอบและปรับปรุง โดยใช้หลัก SMMCES เป็นกรอบในการดำเนินการ ได้แก่ ผู้ส่งสาร (Sender: S), ตัวสาร (Message: M), วิธีการส่งเสริม (Method: M), ช่องทางการส่งเสริม (Channel: C), ผู้สูงอายุ (Elderly: E), การสนับสนุน (Support: S), การทดลองวิธีการถ่ายทอดความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรม พบว่า ด้านความรู้และทักษะแตกต่างกัน ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปลูกผักและบริโภคผักไม่แตกต่างกัน ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาวะของผู้สูงอายุ ได้แก่ ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการปลูกผัก ระดับความรู้เกี่ยวกับการปลูกผัก และระดับทักษะการปลูกผัก การประเมินโมเดลจากเวทีสัมมนาเชิงประเมินมีความเห็นว่าเหมาะสม เห็นควรเผยแพร่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ประโยชน์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. 2565. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563. แหล่งข้อมูล: http://www.dop.go.th (16 กรกฎาคม 2565).

กิติ์ธเนศ สว่างวรนาถ และชมสุภัค ครุฑกะ. 2562. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมทักษะทางปัญญาของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก ปีที่ 20(1): 207-215.

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. 2563. โภชนาอาหารสำหรับผู้สูงอายุ. แหล่งข้อมูล: www.gi.mahidol.ac.th (15 กันยายน 2563).

นคร ลิมปคุปตถาวร ชูเกียรติ โกเมน และสรานนท์ ใยบำรุง. 2553. คู่มือการปลูกผักสวนครัวฉบับคนเมือง. โครงการสวนผักคนเมือง.

นาถศิริ โกมลพันธุ. 2557. สวนผักคนเมือง. โครงการสวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย).

ปรภัต จูตระกูล. 2561. กินผักอย่างไร ให้ได้ 400 กรัม. แหล่งข้อมูล: https://www.thaihealth.or.th/Content/41424-.html (22 มีนาคม 2561).

ปิยะพงษ์ บุษบงก์. 2555. ปลูกเมืองปลูกชีวิต แนวคิดและแนวทางการพัฒนาเกษตรในเมือง. โครงการสวนผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย).

รัชนี โตอาจ. 2561. สังคมผู้สูงอายุ: นัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ. แหล่งข้อมูล: http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/05-01.html (17 ตุลาคม 2561).

ศูนยว์ ิจัยสุขภาพกรุงเทพ. 2561. อาหารการกินในวัยผูสู้งอายุ. แหล่งข้อมูล: http://www.bangkokhealth.com/health/article (20 ตุลาคม 2561).

สวนชีววิถี ไทรม้า นนทบุรี. 2562. ไทยแพนเปิดผลตรวจผักผลไม้พบสารตกค้างเกินมาตรฐาน 41% ผักห้างแย่กว่าผักตลาดสด ตะลึงพบสารพิษห้ามใช้ในประเทศไทยตกค้างอื้อ 12 ชนิด. แหล่งข้อมูล: thaipan.org (15 กรกฎาคม 2565).

สวนผักคนเมือง. 2563. คนเมืองผู้สูงวัยกับพื้นที่สวนผัก ณ สวนผักชุมชนบูรพา 7. แหล่งข้อมูล: thaicityfarm.com (17 มิถุนายน 2565).

สำนักส่งเสริมสุขภาพ. 2561. การเปลี่ยนแปลงและเตรียมตัวเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ. แหล่งข้อมูล: http://hp.anamai.moph.go.th/soongwai/statics/health/prepared/topic001.php (16 เมษายน 2561).

อัญรัช สาริกัลป์ยะ. 2564. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนาปีที่ 11(1) มกราคม-มีนาคม: 102-112. แหล่งข้อมูล https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/245831/166776 (16 เมษายน 2565).

Sirinya, P., S. Thapsuwan, N. Thongcharoenchupong, R. Gray and A. Chamratrithirong. 2020. Sociodemographic differences affecting insufficient fruit and vegetable intake A population-based household survey of Thai people. Journal. Health Research 34(5): 419-429.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. Harper and Row Publications. NewYork.