การปฏิบัติการผลิตอาโวคาโดในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ และหนองเขียว

Main Article Content

พัชราวลี เขียวขำ
นคเรศ รังควัต
พุฒิสรรค์ เครือคำ
วินัย วิริยะอลงกรณ์

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) ศึกษาความรู้ในการปฏิบัติการผลิตอาโวคาโดดีที่เหมาะสมของเกษตรกร 3) ศึกษาระดับการปฏิบัติในการปฏิบัติการผลิตอาโวคาโดในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร 4) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการผลิตอาโวคาโดในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร และ 5) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตอาโวคาโดในระบบเกษตรดี ที่เหมาะสมของเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียวและแม่โถ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 114 คน ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาย มี อายุเฉลี่ย 44 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน มีแรงงานในครัวเรือน 2 คน รายได้รวมเฉลี่ยต่อปี 265,946 บาท ใช้ทุนตนเองในการปลูกอาโวคาโด ได้ผลผลิตอาโวคาโดเฉลี่ย 614.08 กิโลกรัมต่อปี มีการรับรู้ข้อมูลและข่าวสารการผลิตอาโวคาโดในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมเฉลี่ย 93 ครั้งตอ่ ปี โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 5 ครั้งต่อปี ได้เข้าร่วมอบรมและดูงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 0.9 ครั้งต่อปี ส่วนใหญ่ใช้ประสบการณ์ของตนเองในการปลูกอาโวคาโดและมีการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม เกษตรกรร้อยละ 92.10 มีความรู้ในการปฏิบัติการผลิตอาโวคาโดในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยคะแนนความรู้ทั้งหมด 20 ข้อ เกษตรกรมีความรู้เฉลี่ย 16.83 คะแนน คะแนนต่ำสุด 13 คะแนน และสูงสุด 20 คะแนน มีระดับการปฏิบัติการผลิตอาโวคาโดในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรในระดับมากทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ 1) แหล่งน้ำ 2) พื้นที่ปลูก 3) การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร 4) การจัดการคุณภาพและกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว 5) การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว 6) การพักผลผลิต การขนย้ายในแปลงปลูก 7) สุขลักษณะส่วนบุคคลและ 8) การบันทึกข้อมูลและการตามสอบ โดยปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการผลิตอาโวคาโดในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรมีจำนวน 4 ตัวแปร ได้แก่ แหล่งเงินทุน แหล่งข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับการผลิตอาโวคาโดในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม ประสบการณ์การปลูกอาโวคาโด และความรู้ในการปฏิบัติการผลิตอาโวคาโดในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ปัญหาที่พบในการปฏิบัติการผลิตอาโวคาโดในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร คือปัญหาการจัดการแหล่งน้ำในฤดูแล้งที่ต้องการความรู้และเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการน้ำในพื้นที่ รวมถึงความรู้และความเข้าใจการใช้สารเคมีในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราวรรณ เลิศคุณลักษณ์ ปัญญา หมั่นเก็บ และธำรง เมฆโหรา. 2556. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผลิตมะม่วงตามแนวทางเกษตรที่ดีที่เหมาะสมของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 30(2): 13-21.

ณัฐวุฒิ จั่นทอง. 2560. การสื่อสารทางการเกษตร. พระนครศรีอยุธยา: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

นราดล ประไพศรี กังสดาล กนกหงส์ นคเรศ รังควัต และ พหล ศักดิ์คะทัศน์. 2558. การยอมรับวิธีการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 32(1): 39-46.

ปรีดาภรณ์ กาญจนสำราญวงศ์. 2560. หลักสถิติเบื้องต้น. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์. มูลนิธิโครงการหลวง งานไม้ผล. 2560. อาโวคาโด. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.royalprojectthailand.com/front (10 พฤศจิกายน 2563).

วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2553. การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2(4): 2-15.

สมถวิล ผลสอาด. 2555. การรับรู้. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สายฝน ซอพิมาย เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และบำเพ็ญ เขียวหวาน. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารอินทรีย์เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรจังหวัดสระแก้ว. แก่นเกษตร 45(ฉบับพิเศษ 1):1605-1610.

Yamane, T. 1967. Statistics: An Introductory Analysis, 2nd Edition, New York: Harper and Row.