ผลของการเตรียมหัวเชื้อและวัสดุเพาะที่มีต่อผลผลิตของเห็ดนางรมฮังการี

Main Article Content

ธัญญา ทะพิงค์แก
นริศรา วิชิต
วรรณพร ทะพิงค์แก

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ได้พัฒนาเทคนิคการเพาะเห็ดถุงอย่างง่าย โดยทำการเปรียบเทียบวิธีการเตรียมเชื้อเห็ดแบบดั้งเดิม และดัดแปลง จากผลการทดลองพบว่า เชื้อเห็ดจากวิธีดัดแปลงที่เพาะเนื้อเยื่อจากดอกเห็ดสดบนข้าวฟ่างที่ฆ่าเชื้อด้วยไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide, H2O2) ใช้เวลาที่เส้นใยเดินเต็มเมล็ดข้าวฟ่างมากกว่าวิธีการแบบดั้งเดิมแต่มีความหนาแน่นของเส้นใยมากกว่า จึงใช้เป็นเชื้อเห็ดในการทดลองต่อไป การทดลองเปรียบเทียบวิธีการ เตรียมวัสดุเพาะ (ฟางข้าว) ด้วยการนึ่ง การต้ม การแช่น้ำ การแช่สารละลาย H2O2 และการแช่สารละลายยิปซัม ผลการศึกษา พบว่าการต้มฟางข้าวใช้ระยะเวลาออกดอกนาน (26 วัน) และผลผลิตของเห็ดต่ำกว่าวิธีอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (385 กรัม) ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะของฟางข้าวที่ผ่านการต้มมีคุณค่าทางโภชนะต่ำกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ การแช่ฟางข้าวในน้ำเปล่ามีเปอร์เซ็นต์การปนเปื้อนสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2558. การเพาะเห็ดเบื้องต้น. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ. ธัญญา ทะพิงค์แก. 2553. การผลิตเชื้อเห็ดนางรมแบบง่าย.รายงานประชุมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 11, มหาวิทยาลัยขอนแก่น 25-26 มกราคม. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. น. 361-364.

ธัญญา ทะพิงค์แก. 2561. การเพาะเห็ดถั่งเช่าเป็นอาชีพ. มิตรเกษตรการตลาดและโฆษณา, กรุงเทพฯ.

พรวิภา โสภณพัฒนะโภคา สมชาย สุขะกูล และประภาพร ตั้งกิจโชติ. 2556. ประสิทธิภาพของเชื้อปฏิปักษ์เห็ดนางรมฮังการี (Pleurotus ostreatus) ที่เลี้ยงในสภาพกึ่งปลอดเชื้อต่อการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne incognita) ของมะเขือเทศ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2(2): 64-72.

Adenipekun, C.O. and J.S. Gbolagade. 2006. Nutritional requirements of Pleurotus florida (Mont.) Singer, a Nigerian mushroom. Pakistan Journal of Nutrition 5(6): 597-600.

Alasri, A., M. Valverde, C. Roques, G. Michale, C. Cabassud and P. Aptel. 1993. Sporocidal properties of peracetic acid and hydrogen peroxide, alone and in combination with chlorine and formaldehyde for ultrafiltration membrane disinfection. Canadian Journal of Microbiology 39: 52-60.

Ficior, D., D. Indrea, A.S. Apahidean, M. Apahidean, R. Pop, Z. Moldovan, D. Maniutiu, R. Ganea and I. Paven. 2006. Importance of substrate disinfection on oyster mushroom (Pleurotus sp.) culture. Notulae Botanicae Horti Agrobotanici Cluj Napoca 34(1): 48-53.

Gerrits, J.P.G. 1977. The significance of gypsum applied to mushroom compost, in particular in relation to the ammonia content. Neth. Thai Journal of Agricultural Science 25(4): 288- 302.

Houdeau, G., J.M. Olivier, S. Libmond and H. Bawadikji. 1991. Improvement of Pleurotus cultivation. Mushrooms Science 13: 549-554.

Manjunathan, J. and V. Kaviyarasan. 2010. Studies on the growth requirements of Lentinus tuberregium (Fr.), an edible mushroom. Middle-East. Journal of Scientific Research in Science 5(2): 81-85.

Mejía, S.J. and E. Albertó. 2013. Heat treatment of wheat straw by immersion in hot water decreases mushroom yield in Pleurotus ostreatus. Revista Iberoamericana de Micología 30(2): 125-129.

Saritha, B. and M. Pandey. 2010. Evaluation of alternate substrate pasteurization techniques for culinary-medicinal white oyster mushroom, Pleurotus ostreatus var. florida (Agaricomycetideae) cultivation. International Journal of Medicinal Mushrooms 12(3): 309- 316.

Tesfaw, A., A. Tadess and G. Kiros. 2015. Optimum of oyster mushroom (Pleurotus ostreatus) cultivation using locally available substrates and material in Debre Berhan, Ethiopia. Journal of Applied Biology and Biotechnology 3(1): 15-20.

Wayne, R.R. 2001. Growing mushrooms the easy way home mushroom cultivation with hydrogen peroxide volume I. Available: http://jontrot.free.fr/champignons/cultureeau- oxygenee-Vols1-2new.pdf (May 20, 2010).