การปฏิบัติในการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

เกษร อักษรรัตน์
กังสดาล กนกหงษ์
พุฒิสรรค์ เครือคำ
พหล ศักดิ์คะทัศน์

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 2) การปฏิบัติในการประเมินศักยภาพของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติในการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน และ 4) ศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 297 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นรายบุคคล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


   ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 54.89 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา หรือต่ำกว่า มีสถานภาพสมรส โดยมีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.42 คน มีจำนวนแรงงานเฉลี่ย 2.98 คน มีรายได้จากการเข้าร่วมประกอบกิจการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 75,409.09 บาทต่อปี มีรายได้นอกเหนือจากการเข้าร่วมประกอบกิจการของกลุ่มวิสาหกิจชุม ชน 120,929.63 บาทต่อปี โดยมีรายได้จากการทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุม ชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 13.23 ครั้งต่อปี โดยรับข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป็นหลัก ได้รับการส่งเสริมในเรื่องการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนหรือเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 1.30 ครั้ง ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาได้เข้ารับการอบรมเรื่องการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 1.05 ครั้ง ในรอบ 3 ปี  ที่ผ่านมาได้เข้าร่วมการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน 1.42 ครั้ง เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ยที่ 5.94 ปี และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนส่วนมากไม่มีตำแหน่งทางสังคม มีการปฏิบัติในการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนอยู่ในระดับมากโดยปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติในการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ สถานภาพสมรส และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน  


     สำหรับปัญหาในการปฏิบัติในการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน คือ ผู้นำมีภา ระงานมากส่งผลให้การบริหารเวลาไม่มีประสิทธิภาพ, ผู้นำและสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยขาดความรู้และความเข้าใจในหลักเกณฑ์การประ เมินและได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทำให้เกิด    ปัญหาในการรวมกลุ่มเพื่อวางแผนร่วมกันและไม่มีการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนโดยสมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ 1) หน่วยงานที่เกี่ยว ข้องควรจัดอบรม/ชี้แจง ให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญ ขั้นตอน หลักเกณฑ์ และประโยชน์ที่ได้จากการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน 2) ผู้นำ/คณะกรรมการกลุ่มควรอธิบายหลักเกณฑ์การประเมินให้สมาชิกเข้าใจอย่างชัดเจนก่อนทำการประ เมิน 3) ให้มีการประเมินอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สมาชิกมีความรู้ ความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2555. คู่มื อการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2555. แบบประเมินศักยภาพวิสาหกิจ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กษมาพร พวงประยงค์ และนพพร จันทรนำชู. 2556. แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มการแปรรูปและผลิตภัณฑ์ จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 5(1): 108-120.

ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. 2563. รายงานภาพรวมผลการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนแสดงเป็นรายพื้นที่. แหล่งข้อมูล http://smce.doae.go.th/smce1/assess55/assess_choice_report_h.php (13 มกราคม 2563).

ราชกิจจานุเบกษา. 2548. พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. พ.ศ. 2548. เล่ม 122 ตอนที่ 6 ก.

สุดารัตน์ แช่มเงิน ประเดิม ฉ่ำใจ และพัชราวดี ศรีบุญเรือง. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนไวน์ศรีชุมแสง ตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 35(3): 127-136.

อัศม์เดชเดชา ปานท่าไข่. 2559. แนวทางการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harper and Row, New York.