ผลของการเสริมผงเปลือกมะนาวในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่

Main Article Content

สำรวย มะลิถอด
สมาวรรณ์ หล่ำหุ่น
สโรชา ตนุเลิศ
เจนตินา แต้มเรืองอิทธิ์

บทคัดย่อ

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ผงเปลือกมะนาวต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ของไก่ไข่ที่อายุแตกต่างกันสองอายุ การทดลองที่ 1 ศึกษาการเสริมผงเปลือกมะนาวต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ของไก่ไข่อายุ 22 สัปดาห์ (สายพันธุ์อีซ่าบราวน์) งานวิจัยนี้วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design; CRD) ใช้ไก่ไข่จำนวน 200 ตัว แบ่งไก่ทดลองออกโดยสุ่มเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ไก่กลุ่มควบคุม (กลุ่ม 1, control group) ได้รับอาหารทดลองสำเร็จ รูปชนิดผงที่มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 17% ส่วนไก่ทดลองกลุ่ม 2-4 ได้รับอาหารสำเร็จรูปเสริมผงเปลือกมะนาวระดับ 10, 12.5 และ 15 กรัม/กิโลกรัม ทดลองเป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ การทดลองที่ 2 ศึกษาการเสริมผงเปลือกมะนาวต่อปริมาณแคลเซียมในเปลือกไข่ ของไก่ไข่อายุ 73 สัปดาห์ (สายพันธุ์ไฮไลน์บราวน์) ไก่ไข่ จำนวน 160 ตัว แบ่งไก่ทดลองออกโดยสุ่มเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ได้รับอาหารทดลองเช่นเดียวกับการทดลองที่ 1 ปรากฏว่าปริมาณอาหารที่กินของไก่ไข่ที่ได้รับอาหารผสมผงเปลือกมะนาวมีปริมาณอาหารที่กินลดลงทุกระดับ ไก่กลุ่มที่ได้รับการเสริมผงเปลือกมะนาวระดับ 10 กรัม/กิโลกรัม มีค่าต่ำสุด (P<0.05) ไข่  ของไก่ที่ได้รับอาหารผสมผงเปลือกมะนาวที่ระดับ 15 กรัม/กิโลกรัม มีเปอร์เซ็นต์ไขมันในไข่สูงที่สุด แต่ระดับโปรตีนในไข่ขาว พบมีค่าสูงในไก่ที่ได้รับอาหารผสมผงเปลือกมะนาวที่ระดับ 0 และ 10 กรัม/กิโลกรัม และคอเลสเตอรอลรวมมีค่าต่ำสุดในไข่ไก่กลุ่มควบคุม (P<0.05) ระดับแคลเซียมในเปลือกไขมีค่าสูงที่สุดในกลุ่มควบคุม (P<0.05) แต่   ความหนาของเปลือกไข่ของไข่ไก่กลุ่มควบคุมมีค่าต่ำที่สุด (P>0.05) จากการทดลองชี้ให้เห็นว่าการเสริมผงเปลือกมะนาวสำหรับไก่ไข่ทุกระดับไม่ส่งผลเชิงลบต่อสมรรถนะการผลิตยกเว้นปริมาณอาหารที่กินได้ลดลง ส่วนคุณภาพไข่ระดับที่เหมาะสมต่อการใช้คือที่ระดับ 10 กรัม/กิโลกรัม เนื่องจากเป็นระดับการใช้ต่ำสุดที่ส่งผลให้เปลือกไข่หนาขึ้น ส่งผลดีต่อค่าโปรตีนในไข่แดงเพิ่มขึ้น (P>0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กานดา ล้อแก้วมณี. 2558. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพไข่.ข่าวสารเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 60(2): 1-8.

จักรกฤษ ไตรพรม เสกสม อาตมางกูร และยุวเรศ เรืองพานิช. 2560. ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมปูนสำเร็จรูปเป็นแหล่งแคลเซียมในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพไข่ และคุณลักษณะของเปลือกไข่ในช่วงระยะเริ่มให้ผลผลิตไข่. แก่นเกษตร 45(3): 419-424.

จิณณวัตร์ มานะเสถียร กมลรัตน์ พันธ์ทอง และปัทมา ถินสูงเนิน. 2559. วารสารวิจัย. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 1(1): 4-14.

ประภากร ธาราฉาย. 2560. อาหารและการให้อาหารสัตว์ปีก.

แหล่งข้อมูล http://as2.mju.ac.th (12 มกราคม 2566).

ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์ สุภาพร จิรไกรโกศล วีรพัฒน์ เอนกกมล พิสิฏฐ์ ประพันธ์วัฒนะ และฐสิณัส ดิษยบุตร. 2565. ประโยชน์ของเฮสเพอริดีนในเปลือกมะนาวและความเป็นไปได้ในการศึกษาทางคลินิกเพื่อป้องกันโรคโควิด 19. แหล่งข้อมูล http://biochem.md.

chula.ac.th/ (6 พฤษภาคม 2565).

สมฤทัย จิตภักดีบดินทร์. 2557. การลดคอเลสเตอรอลด้วยพืชสกุลส้ม. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 17(1): 77-86.

สมัคร แก้วสุกแสง และพีรพงค์ แสงวนางค์กูล. 2558. ปริมาณสารออกฤทธิ์ของผลไม้ตระกูลส้มที่ปลูกในภาคใต้. แก่นเกษตร 43(1): 799-804.

สำรวย มะลิถอด วันวิวาห์ พัฒนจิตโสภา เหมือนฝัน เรียงสันเที๊ยะ ทวิรัตน์ ก้อนเครือ และเจนจินา แต้มเรืองอิทธิ์. 2564. ผลการเสริมผงเปลือกมะนาวในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตไข่ และปริมาณคอร์ติซอล. แก่นเกษตร 49(2): 90-100.

สุกัลยา นิลเพ็ชร สุขฤทัย ใจลำปาง และอรยา รวยเงิน. 2562. ผลของผงเปลือกมะนาวเสริมในอาหารไก่ไข่ต่อผลผลิตไข่และค่าฮอกยูนิต. ปัญหาพิเศษทางสัตวศาสตร์ สาขาสัตวศาสตร์, คณะเทคโนโลยีการเกษตร, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

เสฐียรพงษ์ มูลสถาน ณรกมล เลาห์รอดพันธ์ วันดี ทาตระกูล และทศพร อินเจริญ. 2562. สมรรถภาพการผลิตไข่ และความแข็งของเปลือกไข่ในเป็ดไข่ที่ได้รับอาหารเสริมส่วนผสมของไบโอแคลเซียมและวิตามินดี. แก่นเกษตร 47(2): 147-152.

เสาวนิต คูประเสริฐ. 2538. โภชนาศาสตร์สัตว์. แหล่งข้อมูล http://opac.surat.psu.ac.th (12 มกราคม 2566).

อรุณีย์ ตรีศิริโรจน์. 2543. การใช้เปลือกมะนาวเป็นสารทดแทนไขมันในน้ำสลัดครีม. รายงานการวิจัยทุนส่งเสริมการวิจัยสำหรับพนักงานประจำมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 20(20): 67-75.

AOAC. 2000. Official Methods of Analysis. 17th ed. Gaithhersburg: The Associationof Official Analytical Chemists. MD. USA.

Cannan, S., M. Kuddusi and U. Hilal. 2010. The effects of supplementation of bergamot oil (Citrus bergamia) on egg production, egg quailty, fatty acid composition of egg yolk in laying hens. The Journal of Poultry Science

(2): 163-169.

Gohl, B. 1981. Feed information summaries and nutritive values. International Foundation for Science. pp. 547-552.

Goliomytis, M., A. Kostaki, G. Avgoulas, D. Lantzouraki, E. Siapi, P. Zoumpoulakis, P. Simitzis and S. Deligeorgis. 2018. Dietary supplementation with orange pulp (Citrussinensis) improves egg yolk oxidative stability in laying hen. Journal of Animal Feed Science and Technology 244(1): 28-35.

Hossein, A., S. Alireza, L. Wuyi and A. Leila. 2014. Investigation on the effect of different levels of dried sweet orange (Citrus sinensis) pulp on performance, carcass characteristics and physiologicaland biochemical parameters in broiler chicken. Avariable: https://www. sciencedirect.com/science/article (January 11, 2023).

Huangva, J., J. Liaob, J. Qia, W. Jianga and X. Yang. 2020. Structural and physicochemical properties of pectin-rich dietary fiber prepared from citrus peel. Food Hydrocolloids 110: 106-140. Avariable: doi:10.1016/j.foodhyd.2020.106140.

Iskender, H., G. Yenice, E. Dokumacioglu, O. Kaynar, A. Hayirli and A. Kaya. (2017). Comparison of the effects of dietary supplementation of flavonoids on laying hen performance, egg quality and egg nutrient profile. The Journal of Poultry Science 58(5): 550-556.

Laudadio, V. and V. Tufarelli. 2011. Influence of substituting dietary soybean meal for dehulled-micronized lupin (Lupinus albus cv. Multitalia) on early phase laying hens production and egg quality. Journal of Life Sciences 140(1): 184-188.

Lien, T., H. Yeh and W. Su. 2008. Effect of adding extracted hesperetin, narigenin and pactin on egg cholesterol, serum traits amd antioxidant activity in laying hens. Avarible: http://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov (January 13, 2023).

Nobakht, A. 2555. Effects of different levels of dryed lemone (Citrus aurantifulia) pulp on performance, carcass traits, biochemical and immunity parameters of broilers. Avarible: http://ijas.iaurasht.ac.ir/article (January 11,

.

Pizzolante, C., S. Kalimoto, E. Saldanha, C. Lagana, H. Souza and J. Moraes. 2011. Limestone and oyster shell for brown layer in their second egg production cycle. The Journal of Poultry Science 13(2): 103-111.

Simitzis, P., D. Spanou, N. Glastra and M. Golimytis. 2018. Impac of dietary quercetin on laying hen performance, egg quality and yolk oxidation stability. Animal Feed Science and Journal of Animal Feed Science and Technology 239: 27-32. Avariable: doi:10.1016/j.anifeedsci.2018.0.