ทัศนคติต่ออาชีพเกษตรกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับทัศนคติต่ออาชีพเกษตรกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อระดับทัศนคติอาชีพเกษตรกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดตรัง จำนวน 355 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่านักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เกรดเฉลี่ย 2.51-3.00 บิดาและมารดามีอาชีพรับจ้าง มีประสบการณ์ทำการเกษตรน้อยกว่า 10 ปี ครอบครัวส่วนใหญ่ไม่มีพื้นที่ทำการเกษตรจึงไม่มีกิจกรรมทางการเกษตร นักเรียนส่วนใหญ่ ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรและไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มด้านการเกษตร นักเรียนต้องการให้โรงเรียนมีการสนับสนุนเกี่ยวกับการทำอาชีพเกษตรกรรมในโรงเรียนระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.08) ในหัวข้อที่เกี่ยวกับ พื้นที่ทำการเกษตร วัสดุอุปกรณ์ และแรงบันดาลใจจากผู้ประสบความสำเร็จทางการเกษตร นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรกรรมในระดับมาก ด้านการพึ่งพาตนเอง (ค่าเฉลี่ย 3.98) ด้านความภาคภูมิใจ (ค่าเฉลี่ย 3.96) ด้านความเชื่อมั่นในอาชีพเกษตรกรรม (ค่าเฉลี่ย 3.93) ด้านความสังคม (ค่าเฉลี่ย 3.90) และด้านเศรษฐกิจ (ค่าเฉลี่ย 3.75) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลทางบวกต่อทัศนคติที่มีต่ออาชีพเกษตรกรรมของนักเรียน ได้แก่ ความต้องการประกอบอาชีพ เกรดเฉลี่ย เฟซบุ๊ก นักวิชาการเกษตร ประสบการณ์ทำการเกษตรของครอบครัว และอาชีพของมารดา ส่วนปัจจัยที่มีผลทางลบต่อทัศนคติ ที่มีต่ออาชีพเกษตรกรรม คือ ครูเกษตร โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ปราชญ์ชาวบ้าน อาชีพของบิดา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลฉัตร กลัดแก้ว. 2559 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเจตคติต่ออาชีพเกษตรกรรมของยุวเกษตรกรในอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการเมืองการปกครอง 6(2): 337-393.
เจตนัตย์ เพชรศรี. 2552. การเปิดรับสื่อและความต้องการเนื้อหาข่าวสารของนักการเมืองท้องถิ่นจากสื่อขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ดารณี พานทอง พาลุสุข และสุร เสกข์ พงษ์หาญยุทธ. 2542. ทฤษฎีการจูงใจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
นิเวศน์ อินตารัตน์. 2543. บทบาทของครูเกษตรต่อการส่งเสริมอาชีพเกษตรในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เลิศภูมิ จันทรเพ็ญกุล. 2560. หลักการส่งเสริมการเกษตร. แหล่งข้อมูล https://dspace.bru.ac.th (7 พฤษภาคม 2562).
วาโร เพ็งสวัสดิ์. 2553. สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. สุวีริยาสาส์น, กรุงเทพฯ.
วิลัยวรรณ์ แฝดสุระ และเพ็ญณี แนรอท. 2558. ความสนใจและความต้องการของเยาวชนในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 4(1): 237-249.
วีระชัย เข็มวงษ์. 2546. ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการประกอบอาชีพเกษตรของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร, คณะเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศันสนีย์ กระจ่างโฉม. 2559. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจของทายาทเกษตรกรในการสานต่ออาชีพเกษตรในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. สถาบันวิจัยสังคม, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมจิต โยธะคง. 2550. เกษตรกรรมกับสังคมไทย. แหล่ง ข้อมูล http:agri.stou.ac.th (23 กันยายน 2562).
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดตรัง. 2564. ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดตรังที่ใช้สนับสนุนการตรวจราชการและ ครม. สัญจรประจำเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564. แหล่งข้อมูล https://www.opsmoac.go.th (30 มกราคม 2565).
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2561. สำรวจการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร พ.ศ. 2561. แหล่งข้อมูล http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages6 (24 กันยายน 2562).
สำนักงานสภานโยบายอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. 2561. จำนวนนักศึกษาเข้าใหม่ระดับปริญญาตรีในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีการศึกษา 2552-2561 จำแนกตามสาขาวิชา. แหล่งข้อมูล http://stiic.sti.or.th (7 พฤษภาคม 2562).
หนึ่งฤทัย เจียรพงศ์วัฒน์. 2546. ความคาดหวังในการประกอบอาชีพของนักเรียนคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สารนิพนธ์พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Newsom, D. and C. Bob. 1995. Public Relations Writing. Wadsworth, California.