บทบาทของเชื้อจุลินทรีย์ คุณภาพของเถ้า และภาชนะที่ใช้ก่อหม้อห้อม ที่มีความสามารถในการเปลี่ยนสีอินดิโกในระหว่างการผลิตสีย้อมห้อม แบบธรรมชาติ เพื่อการผลิตสีย้อมแบบยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจุลินทรีย์ที่มีผลต่อกระบวนการก่อหม้อห้อมย้อมสีผ้า โดยคัดแยกเชื้อจุลินทรีย์จากน้ำก่อหม้อร้านแก้ววรรณา (KW) ร้านผ้าธรรมชาติ (TC) ร้านโฮงฮ่อม (HH) ร้านป้าเหลือง (PL) และร้านป้าเหงี่ยม (PG) จากการศึกษาสามารถคัดแยกเชื้อได้ทั้งหมด 95 ไอโซเลท แต่พบเพียง 17 ไอโซเลท ที่สามารถเปลี่ยนสีอินดิโกไปเป็นลิวโคอินดิโก โดยไอโซเลท TC228 ให้ปริมาณลิวโคอินดิโกมากที่สุด คือ 9.5688 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ซึ่งคัดแยกได้จากน้ำก่อหม้อร้านผ้าธรรมชาติ เป็นแบคทีเรียแกรมบวกรูปร่างเป็นท่อนสั้น จากการนำ TC228 ไปวิเคราะห์เพื่อระบุชนิด โดยการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 16S rRNA พบว่ามีความใกล้เคียงกับ Bacillus cereus NR_115714.1 ในฐานข้อมูลที่ความยาว 1535 bp. มีค่าความเหมือน เท่ากับ 99% เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพการเปลี่ยนเป็นลิวโคอินดิโก พบว่า ตัวอย่างที่มีการเติม TC228 ให้ประสิทธิภาพของน้ำก่อหม้อดีกว่าตัวอย่างที่ไม่ได้เติมเชื้อจุลินทรีย์ จากนั้นทดสอบภาชนะที่เหมาะสม พบว่า ภาชนะที่ใช้ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติต่อกระบวนการเปลี่ยนเป็นลิวโคอินดิโกรวมถึงการย้อมติดสีและจากการศึกษาน้ำด่างจากขี้เถ้าไม้ 7 ชนิด พบว่า น้ำด่างจากขี้เถ้าไม้รวมให้ประสิทธิภาพในการเปลี่ยนเป็นลิวโคอินดิโกสูงที่สุด คือ 157.08 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และให้ค่า L* a* และ b* เท่ากับ 1.030 -0.023 และ 0.367 ตามลำดับ จากงานวิจัยสามารถสร้างความสะดวกในการใช้งาน รวมถึงการควบคุมคุณภาพน้ำย้อมสี นำไปสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ห้อมผงหรือชุด Kit ย้อมสีสำเร็จรูป ซึ่่งเป็นการยกระดับสินค้าหม้อห้อม ของจังหวัดแพร่ สู่ระดับสากล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณัฐพร จันทร์ฉาย. 2564. หม้อห้อมแพร่ย้อมธรรมชาติเชิงพาณิชย์. สมาร์ท โคตติ้ง แอนด์ เซอร์วิส, เชียงใหม่.
นิตยา ชะนะญาติ. 2544. การพัฒนาการสกัดอินดิโกจากครามและฮ่อมเพื่อใช้ในการย้อมสีธรรมชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศูนย์คราม. 2560. สีครามราชาแห่งสีย้อมธรรมชาติ. ศูนย์คราม, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สนิช ม. สินาคโยธารักษ์. 2483. การทำสีน้ำเงินผงจากคราม และการย้อมผ้าด้วยคราม. วิทยาศาสตร์ 5(4): 330- 334.
อุดมวิทย์ ไวทยากร และกัญญรัตน์ จำปาทอง. 2556. หม้อห้อม (ม่อฮ่อม) อีกหนึ่งภูมิปัญญาไทย. หนังสือพิมพ์กสิกร 86(1): 11-16.
Nakajima, K., K. Hirota, Y. Nodasaka and I. Yumoto. 2005. Alkalibacterium ibriense sp. Nov., and obligate alkaliphile that reduce an indigo dye. International journal of systematic and evolutionary microbiology 55(4): 1525-1530. Available: https://doi.org/10.1099/ijs.0.63487-0.
Padden, A.N., V.M. Dillon, J. Edmonds, M.D. Collins, N. Alvarez and P. John. 1999. An indigo– reducing moderate thermophile from a woad vat, Clostridium isatidis sp. Nov. International Journal of Systematic and Evolutionary Microbiology 49(3): 1025-1031. Available: https://doi.org/10.1099/00207713-49-3-1025.
Park, S., Y.J. Ryu, J. Seo and G.H. Hur. 2012. Isolation and Characterization of Alkaliphilic and thermotolerant bacteria that reduce insoluble indigo to soluble leuco–indigo from indigo dye vat. Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry 55: 83-88.
Teanglum, A., S. Teanglum and A. Saithong. 2012. Selection of Indigo Plant Varieties and Other Plants that Yield Indigo Dye. Procedia Engineering 32: 184-190. Available: https://doi.org/10.1016/j.proeng.2012.01.1255.
Yumoto, I., K. Hirota, Y. Nodasaka, Y. Yokota, T. Hoshino and K. Nakajima. 2004. Alkalibacterium psychrotolelerans sp. Nov., a psychrotolerant obligate alkaliphile that reduces an indigo dye. International journal of systematic and evolutionary microbiology 54(6): 2379-2583. Available: doi:10.1099/ijs.0.63130-0.62.