ผลของผงหินอ่อนผสมคอนกรีตต่อสมบัติเชิงกลและเชิงความร้อน สำหรับใช้เป็นคอนกรีตมุงหลังคา

Main Article Content

นิรัช แซ่ย้าง
นงลักษณ์ จันทร์พิชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของแผ่นกระเบื้องมุงหลังคาคอนกรีตผสมผงหินอ่อนในอัตราส่วนต่าง ๆ ผลิตได้โดยขึ้นรูปแผ่นกระเบื้องด้วยคอนกรีตที่มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดที่ 1: ทราย : น้ำ : น้ำยากันซึม : สารเร่งการก่อตัวแคลเซียมคลอไรด์ โดยมีอัตราส่วนร้อยละเท่ากับ 21.73 : 59.78 : 16.30 : 1.53 : 0.66 และเติมผงหินอ่อนในอัตราส่วนโดยมวลคอนกรีต : ผงหินอ่อน โดยมีอัตราส่วนโดยมวลเท่ากับ 1:0, 0.9:0.1, 0.8:0.2, 0.7:0.3 , 0.6:0.4 และ 0.5:0.5 ขึ้นรูปโดยแบบหล่อขนาด 33 x 42 x 1 เซนติเมตร พบว่าปริมาณที่เหมาะสมของผงหินอ่อน สำหรับผสมในแผ่นกระเบื้องมุงหลังคาคอนกรีต คืออัตราส่วน 0.9:0.1 มีการทดสอบตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.535-2556 และผลทดสอบเป็นไปตามข้อกำหนดโดยมีค่าแรงกดตามขวางเท่ากับ 1,117.78 นิวตัน มีค่าการดูดซึมน้ำร้อยละ 9.68 และค่าสภาพนำความร้อนเท่ากับ 0.02 W/m.K เป็นไปตามมาตรฐานแผ่นกระเบื้องมุงหลังคาคอนกรีต สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุมุงหลังคาได้

Article Details

How to Cite
แซ่ย้าง น., & จันทร์พิชัย น. (2024). ผลของผงหินอ่อนผสมคอนกรีตต่อสมบัติเชิงกลและเชิงความร้อน สำหรับใช้เป็นคอนกรีตมุงหลังคา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 3(1), 84–94. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/jstcrru/article/view/262026
บท
บทความวิจัย

References

กิตติพันธ์ บุญโตสิตระกูล และกิตติพงษ์ สุรีโร. (2660). การพัฒนาคุณสมบัติด้านฉนวนป้องกันความร้อนของกระเบื้องมุงหลังคาคอนกรีตโดยใช้น้ำยางพารา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

พงษ์ธร จุฬพันธ์ทอง. (ม.ป.ป). ผงหินอ่อน. พิษณุโลก: สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นงลักษณ์ จันทร์พิชัย. (2561). สมบัติทางกายภาพและสมบัติเชิงกลของหินอ่อนเขาสว่างอารมณ์ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. สักทอง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 5(2), 55-63.

กองส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐาน. (ม.ป.ป.). มอก.535-2556 กระเบื้องคอนกรีตมุงหลังคา. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.

ปราโมทย์ วีรานุกูล. (2557). ศึกษาสมบัติทางกายภาพ สมบัติทางกล และสมบัติความเป็นฉนวนป้องกันความร้อนของคอนกรีตบล็อกเถ้าปาล์มน้ำมันผสมน้ำยางธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.