การรับรู้และการมีส่วนร่วมของบุคลากรเกี่ยวกับสำนักงานสีเขียวในมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

Main Article Content

อภิญญา นิมิตธรรมโสภณ
พิมประไพ ขาวขำ
นพรัตน์ ไชยวิโน
วิไลลักษณ์ สวนมะลิ
อภิชญา พัดพิน
บรรจงศักดิ์ ฟักสมบูรณ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการรับรู้และการมีส่วนร่วมของบุคลากรเรื่องสำนักงานสีเขียวในมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรต่อการรับรู้และการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับสำนักงานสีเขียว ศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 265 คน โดยใช้แบบสอบถามร่วมกับการวิเคราะห์สถิติสำหรับข้อมูลพื้นฐาน (ความถี่ และร้อยละ) การวิเคราะห์ข้อมูลการรับรู้ข้อมูล และการมีส่วนร่วมต่อสำนักงานสีเขียว (ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อการรับรู้และการมีส่วนร่วมเรื่องสำนักงานสีเขียว ( t-test และ One - way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ของบุคลากรเกี่ยวกับการเป็นสำนักงานสีเขียวอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} =  4.05, S.D. = 0.12)  การมีส่วนร่วมของบุคลากรเกี่ยวกับการเป็นสำนักงานสีเขียวอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.29, S.D. = 0)  เมื่อทำการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้และการมีส่วนร่วมเรื่องสำนักงานสีเขียวในมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้เรื่องสำนักงานสีเขียวที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P < 0.05)  ได้แก่ อายุ และตำแหน่งงาน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมเรื่องสำนักงานสีเขียว ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P < 0.05) ยกเว้นระยะเวลาในการทำงานเพียงหัวข้อเดียวที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P < 0.05)

Article Details

How to Cite
นิมิตธรรมโสภณ อ., ขาวขำ พ., ไชยวิโน น., สวนมะลิ ว., พัดพิน อ., & ฟักสมบูรณ์ บ. (2023). การรับรู้และการมีส่วนร่วมของบุคลากรเกี่ยวกับสำนักงานสีเขียวในมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2(2), 20–28. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/jstcrru/article/view/260009
บท
บทความวิจัย

References

วิมลรักษ์ ศานติธรรม, ปรียวรรณ สุวรรณสูนย์, และคณาธิป ไกยชน. (2563). Green Office กับการขับเคลื่อนองค์กรสู่สำนักงานสีเขียว. วิจัยปริทัศน์. 4, กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2558). คู่มือการประเมินสำนักงานสีเขียว (green Office). มหาวิทยาลัยมหิดล: คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์.

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). โครงการสำนักงานสีเขียวมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สืบค้นจาก http://green-office.kpru.ac.th/green_office_kpru/index.php

วนิดา วาดีเจริญ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์, และสมบัติ ทีฑทรัพย์. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยจากแนวคิดทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis (2nd Ed.). New York. Harper and Row.

ปนัดดา สมบูรณ์สวัสดี. (2559). การพัฒนาบุคลากรกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นแบบอย่างที่ดีของ สำนักงานสีเขียวอย่างยั่งยืน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา.

โครงการสำนักงานสีเขียว มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ผลการพิจารณารางวัลสำนักงานสีเขียว ประจำปี 2565. สืบค้นจาก https://green-office.kpru.ac.th/index.php

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, และมหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Office Standard).

ปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร. (2561). ปัจจัยเชิงเหตุและผลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของพนักงานในสำนักงานสีเขียว (Antecedents and Effects concerning Employee Green Behavior in Green Office). Veridian E –Journal, Silpakorn University, 11(1), 645-661. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/118633/90945

วีระชัย วุฒิพงศ์ชัยกิจ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้นโยบายองค์การ กรณีศึกษา บริษัทเอสซีจีแพก เกจจิ้ง จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เฉลิมเกียรติ หรรษาจรูญโรจน์, และเกริกรัฐ ตั้งวงษ์อุทัย. (2560, มิถุนายน 20-21). การศึกษาแนวทางการจัดการทรัพยากรอาคารตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) กรณีศึกษา: สำนักงานเทศบาลตำบลในเขตจังหวัดนครปฐม. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 2. นัตวกรรมอาคาร : 2560 : อาคารอัจฉริยะอย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ นครปฐม.

ภูดิช ศิริวุฒิ. (2560). การนํานโยบายสำนักงานสีเขียวไปสู่การปฏิบัติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหิดล, บัณฑิตวิทยาลัย, นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ.

โมทนา สิทธิพิทักษ์, สิริฉันท์สถิรกุล เตชพาหพงษ์, และพันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของมหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืน (Key Success Factors of Sustainable Green University). Journal of Education Studies, 49(2), 1-10. DOI: 10.14456/educu.2021.27

Young, W., & others. (2015). Changing Behaviour: Successful Environmental Programmes in the Workplace. Business Strategy and the Environment, 24(8), 689-703. Retrieved from https://doi.org/10.1002/bse.1836

Robertson, J.L., & Barling., J. (2013). Greening organizations through leaders’ influence on employees’ pro-environmental behaviors. Journal of Organizational Behavior, 34, 176-194. Retrieved from https://doi.org/10.1002/job.1820

กรุณา สุวรรณคำ. (ม.ป.ป.), ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานสรรพากรพื้นที่สมุทรปราการ 1. สาขาการบัญชีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นจาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin92/6214154652.pdf

ติกขเวทย์ ก้อนแก้ว. (2562). ปัจจัยด้านแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนค่านิยม EP SPIRIT ของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหิดล.