ศึกษาการผลิตเอทานอลจากกาบมะพร้าว
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตเอทานอลจากกาบมะพร้าว โดยผู้วิจัยได้ศึกษาอิทธิพลของความเข้มข้นกรดซัลฟิวริกที่ความเข้มข้นร้อยละ 4, 7 และ 10 โดยปริมาตร ในการย่อยกาบมะพร้าวเพื่อผลิตเอทานอล พบว่าสภาวะที่ดีที่สุดคือการผลิตน้ำตาลรีดิวซ์จากกาบมะพร้าวโดยชุดรีฟลักซ์ภายใต้อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ในสารละลายกรดซัลฟิวริกที่เข้มข้นร้อยละ 4 โดยปริมาตร ได้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ 19.60±0.08 กรัมต่อลิตร จากนั้นหมักด้วยยีสต์ Saccharomyces cerevisiae กลั่นลำดับส่วนเพื่อแยกเอทานอล และวิเคราะห์ปริมาณเอทานอลที่ได้ด้วยวิธีตรวจวัดความหนาแน่น พบว่าผลิตเอทานอลได้ ร้อยละ 0.67±0.02 โดยปริมาตร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of TCI is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 กับแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค. สืบค้นจาก http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=994
ธีรภัทร ศรีนรคุตร. (2551). เชื้อเพลิงเอทานอลจากวัสดุการเกษตร. วารสารแหล่งพลังงานทางเลือกใหม่ของคนไทยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 15(3), 5-8.
แก้วกัลยา โสตถิสวัสดิ์, อรสา จันทร์ลือชัย และ รัศมี คะมุง. (2019). การปรับสภาพเปลือกข้าวโพด และกาบมะพร้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำตาลรีดิวซ์. Science and Technology RMUTT Journal, 9(1), 1- 9.
McDonnell, G., & Russell, A. D. (1999). Antiseptic and Disinfectants: Activity, Action, and Resistance. Clinical Microbiology Reviews, 12(1), 147-179.
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน (มกราคม 2555). โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสเชิงพาณิชย์. สืบค้นจาก https://webkc.dede.go.th/testmax/sites/default/files/2.รายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร.pdf
พิลาณี ไวถนอมสัตย์, วราภรณ์ อภิวัฒนาภิวัต, นันทยา ชุ่มชื่น, วุฒินันท์ คงทัด, และสาริมา สุนทรารชุน. (2553). การผลิตเอธานอลจากกาบมะพร้าวโดยกระบวนการไฮโดรไลซิสและหมักแยกขั้นตอนและกระบวนการไฮโดรไลซิสและหมักรวมขั้นตอน [การนำเสนอ]. ใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 (น. 349-356). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
อภิสรา แซ่จันทร์. (2560). การปรับสภาพฟางข้าวด้วยสารละลายกรดและด่างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายด้วยเอนไซม์สำหรับกระบวนการผลิตเอทานอลโดยการหมักแบบแยกกระบวนการผลิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, MJU E-THESIS. สืบค้นจาก http://mdc.library.mju.ac.th/thesis/2561/apisara_saejun/fulltext.pdf
ขวัญสุดา อนุอัน. (2549). การย่อยชานอ้อยด้วยวิธีทางเคมีเพื่อการผลิตเอทานอล. (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะเทคโนโลยี.
Ahmed T. H. A., & Phaff, H. J. (1968). Exo-β-glucanases in Yeast. Biochemical Journal, 109(3), 347-360.
สาวิตรี ลิ่มทอง, Toshiomi Yoshida, Tatsuji Seki, มาลี สุวรรณอัตถ์ และ Hisaharu Taguchi. (2529). อิทธิพลของเกลืออนินทรีย์บางชนิดต่อการเจริญและการหมักแอลกอฮอล์ของ Saccharomyces cerevisiae AM12. วารสารเกษตรศาสตร์ (วิทยาศาสตร์), 20(2), 186-197.
กาญจนา พานแก้ว, จิญาภา ศรีภิรมย์, ธนากร ค่ายหนองสรวง, พุทธพร แสงเทียน และ นารีรัตน์ มูลใจ (2008, October 20-21). การผลิตไบโอเอทานอลจากกากมะพร้าว [เอกสารนำเสนอ]. ใน The 18th Thailand Chemical Engineering and Applied Chemistry Conference, Pattaya Thailand. สืบค้นจาก http://app.eng.ubu.ac.th/~app/resproject/upload/p1/12.paper_l_pirat.2552.pdf