การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลป่าจำปีสิรินธร จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

ขวัญชัย ชัยอุดม
สมพงษ์ สุวรรณทอง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำฐานข้อมูลของป่าจำปีสิรินธรโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ 2) ศึกษาสังคมป่าและการกระจายตัวของต้นจำปีสิรินธร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องกำหนดตำแหน่งบนโลก ในการสำรวจตำแหน่งต้นจำปีสิรินธร วัดขนาดความโตตั้งแต่ 2 เซนติเมตร เป็นต้นไปที่ระดับ 1.30 เมตร และนำมาจัดทำฐานข้อมูลป่าจำปีสิรินธรโดยใช้ โปรแกรม Arc GIS 10.4 แล้วนำฐานข้อมูลที่ได้ไปศึกษาสังคมป่าและการกระจายตัว โดยหาค่าความหนาแน่น เส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก พื้นที่หน้าตัด และปริมาตรไม้ ผลการศึกษา พบว่า ฐานข้อมูลป่าจำปีสิรินธร มีพื้นที่ 139.75 ไร่ สามารถแบ่งออกได้ 4 โซน โดยในฐานข้อมูลประกอบไปด้วย ตำแหน่งของต้นจำปีสิรินธร ความโตเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก พื้นที่หน้าตัด ปริมาตรไม้ ความสูงของต้นจำปีสิรินธรแต่ละต้น ส่วนผลการศึกษาด้านสังคมป่าพบว่า ปี พ.ศ. 2558 มีค่าความหนาแน่น เท่ากับ 1.56 ต้น/ไร่ ปริมาตรไม้ เท่ากับ 3.95 ลูกบาศก์เมตร พื้นที่หน้าตัด 254.43 ตารางเมตร ปี พ.ศ. 2561 พบมีความหนาแน่น เท่ากับ 0.62 ต้น/ไร่ ปริมาตรไม้ เท่ากับ 3.39 ลูกบาศก์เมตร พื้นที่หน้าตัด เท่ากับ 208.46 ตารางเมตร เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันระหว่าง ปี พ.ศ. 2558 กับ ปี พ.ศ. 2561 พบว่า จำนวนต้นจำปีสิรินธรลดลงร้อยละ 60 ค่าปริมาตรไม้ และพื้นที่หน้าตัดของป่าจำปีสิรินธร ลดลงร้อยละ 40 และ 82 ตามลำดับ สำหรับการกระจาย พบว่า ต้นจำปีสิรินธรมีการกระจายแบบกลุ่มไม่สม่ำเสมอทั่วทั้งบริเวณทั้ง 2 ปี

Article Details

How to Cite
ชัยอุดม ข., & สุวรรณทอง ส. (2023). การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลป่าจำปีสิรินธร จังหวัดลพบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2(1), 22–33. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/jstcrru/article/view/257843
บท
บทความวิจัย

References

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (28 พฤษภาคม 2561). ประวัติป่าจำปีสิรินธร. สืบค้นจาก http://www.rspg.org/jumpeesirin/jpsinin5.htm

บรรเจิด ถมปัด. (9 มิถุนายน 2559 ). เจ้าหน้าที่ป่าจำปีสิรินธร จังหวัดลพบุรี. สัมภาษณ์.

ศูนย์วิจัยสารสนเทศเพื่อไทย. (16 กันยายน 2561). ศูนย์วิจัยสารสนเทศเพื่อไทย. สืบค้นจาก http://www.gisthai.org/v2/index.php/resources/education/menu-learning-gis

ธรรมนูธ เต็มไชย และอภิชา อยู่สมบูรณ์. (2555). เทคนิคการวัดต้นไม้. สำนักอุทยานแห่งชาติ, กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช.

สถาบันส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). การแพร่กระจายของประชากร (พิมพ์ครั้งที่ 1, เล่มที่ 5). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของ สกสค.

สามารถ มุขสมบัติ และธัญนรินทร์ ณ นคร. (2538). การใช้ Spiegel Rolascope เพื่อจัดสร้างปริมาตรไม้บริเวณป่าสาธิตเชคเตอร์แม่แหง. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการป่าไม้.