ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีโนลิกทั้งหมดของสารสกัดจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวเหนียวดำ และข้าวหอมนิล

Main Article Content

ปิยดา ยศสุนทร
กิตติศักดิ์ แสงศรีจันทร์
ศุภนุช กองฟู

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบ             ฟีนอลิกรวม ในข้าว 3 ชนิด คือ ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวเหนียวดำ และข้าวหอมนิล โดยทำการทดสอบหาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ด้วยวิธี DPPH และตรวจวัดปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม ใช้วิธี Folin - Colorimatric assay  ผลการวิจัยพบว่า ข้าวเหนียวดำ  มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีทีสุด โดยมีค่า IC50  ต่ำที่สุดคือ  0.1026  มิลลิกรัม/มิลลิลิตร รองลงมาเป็น ข้าวไรซ์เบอร์รี่  โดยมีค่า IC50  เท่ากับ  0.1147 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และ ข้าวหอมนิลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระต่ำที่สุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.1154 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ สรุปได้ว่าข้าวเหนียวดำมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด รองลงมาคือ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวหอมนิล และในสารสกัดข้าวเหนียวดำ มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมมากที่สุดเท่ากับ 10.32 % โดยน้ำหนัก รองลงมาได้แก่ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมเท่ากับ 8.07 %  โดยน้ำหนัก และข้าวหอมนิล มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมเท่ากับ 6.56 % โดยน้ำหนัก  ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมในข้าว มีความสัมพันธ์กับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p<0.01) โดยฤทธิ์ต้านอนุมูล DPPH*  จะสูงขึ้นเมื่อมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมมากขึ้น

Article Details

How to Cite
ยศสุนทร ป., แสงศรีจันทร์ ก., & กองฟู ศ. (2023). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีโนลิกทั้งหมดของสารสกัดจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวเหนียวดำ และข้าวหอมนิล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2(1), 34–41. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/jstcrru/article/view/257846
บท
บทความวิจัย

References

นวลศรี รักอริยะธรรม และ อัญชนา เจนวิถีสุข. (2545). แอนติออกซิแดนท์ : สารต้านมะเร็งในผักสมุนไพรไทย. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.

สมาคมเพื่อการวิจัยอนุมูลอิสระไทย. (2555). อนุมูลอิสระและสารต้านอนมูลอิสระ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นวัตกรรมสุขภาพ.

Papas, A.M. (1999) Diet and Antioxidant Status. Food and Chemical Toxicology, 37, 999-1007. https://doi.org/10.1016/S0278-6915(99)00088-5.

Roberfroid, M.B. & Calderon, P.B. (1995). Free Radicals and Oxidation Phenomena in Biological Systems. New York, Marcel Dekker, Inc. U.S.A.

Parsons, Andrew F. (2000). An Introduction to Free Radicals Chemistry. Cambridge: Cambridge Univ. Press.

Maisuthisakul, P., Suttajit, M., & Pongsawatmanit, R. (2006). Assessment of phenolic content and free radical-scavenging capacity of some Thai indigenous plants. Food Chemistry, 100(4), 1409-1418.

Mongkolsilp, S., Pongbupakit, I., Sae-Lee, N., & Sitthithaworn, W. (2004). Radical Scavenging Activity and Total Phenolic Content of Medicinal Plants Used in Primary Health Care. SWU J Pharm. Sci., 9(1), 32–35.

ปณัฐฐา ไชยมุติ. (2546). การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของพืชสมุนไพร 7 ชนิด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะวิทยาศาสตร์, สาขาวิชาชีวเคมี.

ไมตรี สุทธจิตต์. (2543). ความสามารถของสารสำคัญในการต่อต้านออกซิเดชันของสมุนไพรไทย : รายงานการวิจัยแพทย์แผนไทยฉบับสมบูรณ์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พัชราภรณ์ รัตนธรรม, ณัฏฐา เลาหกลจิตตา และ อรพิน เกิดชูชื่น. (2556). สารประกอบฟินอลิก แอนโทไซยานินและสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของข้าวกล้องสีงอก. วารสารวิทยาศาสตร์ เกษตร, 44(2) พิเศษ, 441-444.

Cai, H., Zhang, Q., Shen, L., Luo, J., Zhu, R., Mao, J., … Cai, C. (2019). Phenolic profile and antioxidant activity of Chinese rice wine fermented with different rice materials and starters. LWT, Vol. 111, 226-234. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.lwt.2019.05.003