การเปรียบเทียบความหลากชนิดของไม้ต้นและการใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นระหว่างป่ายางชุม และป่าระหาร อำเภอเมืองสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

สมชญา ศรีธรรม

บทคัดย่อ

การเปรียบเทียบความหลากชนิดของไม้ต้นและการใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น เพื่อทราบถึงค่าความหลากหลายของไม้ต้น ค่าดัชนีความสำคัญระดับชนิดและระดับวงศ์ค่าความหลากหลายของชนิดพันธุ์ ค่าร้อยละความคล้ายคลึงระหว่างสังคม และการใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นของไม้ต้นระหว่างป่ายางชุมและป่าระหาร ผลการศึกษาพบว่าป่ายางชุมมีไม้ต้น 434 ต้น 39 ชนิด 21วงศ์ ค่าความสำคัญของชนิดพันธุ์ 5 อันดับแรก คือ กล้วยน้อย กระบาก กราย พอก และ พะยอม มีค่าความสำคัญ 49.30,38.73, 32.37, 28.21 และ 21.62 ตามล าดับ และมีค่าความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (H’) เท่ากับ 2.78 แปลงตัวอย่างป่าระหารมีไม้ต้น 536 ต้น 41 ชนิด 24 วงศ์ ค่าความสำคัญของชนิดพันธุ์ 5 อันดับแรกคือ ยางเหียง ลำดวน พะยอม เต็ง และ พอกมีค่าความสำคัญ 43.02, 39.03, 35.42, 30.46 และ 23.37 ตามลำดับ และมีค่าความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (H’) เท่ากับ2.87 ทั้งป่ายางชุมและป่าระหารมีกลุ่มวงศ์ที่มีค่าดัชนีความสำคัญ 3 อันดับแรกเหมือนกันคือวงศ์DipterocarpaceaeAnnonaceae และ Fabaceae และมีค่าดัชนีความคล้ายคลึงระหว่างสังคมอยู่ที่ 36.16% จากจำนวนชนิดที่เหมือนกัน 24ชนิดจากจำนวนรวม 56 ชนิด ซึ่งไม้ต้นทุกชนิดมีการใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น โดยใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพรมากที่สุด รองลงมาคือด้านอาหาร การก่อสร้างที่อยู่อาศัย เครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร เครื่องมือเครื่องใช้ในบ้าน ย้อมสี เชื้อเพลิงอื่นๆ และไม้ประดับ ตามลำดับโดยทั้ง 2 ป่ายังเอื้อประโยชน์ต่อพื้นที่การเกษตรของชุมชนโดยรอบ ช่วยดูดซับน้ำฝนที่ตกตามธรรมชาติไว้ทำให้บริเวณพื้นที่เกษตรโดยรอบและดินในบริเวณนั้นมีความชุ่มชื้น และมีแหล่งน้ำในป่าที่ชุมชนนำมาใช้ได้ตลอดปีส่งผลดีต่อพื้นที่การเกษตรของชุมชน

Article Details

How to Cite
ศรีธรรม ส. (2021). การเปรียบเทียบความหลากชนิดของไม้ต้นและการใช้ประโยชน์ในท้องถิ่นระหว่างป่ายางชุม และป่าระหาร อำเภอเมืองสุรินทร์จังหวัดสุรินทร์. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 13(1), 14–25. https://doi.org/10.14456/paj.2016.2
บท
บทความวิจัย