ประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดในการควบคุมโรคราสนิมขาวของผักบุ้ง ที่เกิดจากเชื้อรา Albugo ipomoeae-aquaticae

Main Article Content

ครองใจ โสมรักษ์
อังคณา เทียนกล่่า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดในการควบคุมโรคราสนิมขาวของผักบุ้ง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 4 ทรีตเม้นท์ๆ ละ 4 ซ้ำ ได้แก่ ทรีตเม้นท์ที่ 1 คลุกเมล็ดผักบุ้งด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มาก่อนปลูก ทรีตเม้นท์ที่ 2 หว่านปุ๋ยหมักผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาก่อนปลูก ทรีตเม้นท์ที่ 3 พ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาก่อนปลูก และทรีตเม้นท์ที่ 4 ไม่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา (ควบคุม) ผลการทดลองพบว่า การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดสามารถควบคุมโรคราสนิมขาวในผักบุ้งได้ โดยพบร้อยละการเกิดโรคราสนิมขาว ร้อยละ 5.00 ในแปลงที่ปลูกโดยการใส่ปุ๋ยหมักผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาก่อนปลูก ส่วนแปลงที่ไม่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา (ควบคุม) พบร้อยละการเกิดโรคราสนิมขาวมากที่สุด คือ ร้อยละ 16.25 และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) นอกจากนี้การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาทุกวิธีมีผลต่อความสูงและผลผลิตของผักบุ้ง เมื่อครบ 35 วันหลังปลูก พบว่าการพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาช่วยให้ต้นผักบุ้งมีความสูงที่สุด คือ 31.9 เซนติเมตร โดยผักบุ้งที่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ให้ผลผลิตระหว่าง 2.47-2.67 กิโลกรัม/ตารางเมตรส่วนทรีตเม้นต์ที่ไม่ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาให้ผลผลิต 2.37 กิโลกรัม/ตารางเมตร

Article Details

How to Cite
โสมรักษ์ ค., & เทียนกล่่า อ. . (2021). ประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดในการควบคุมโรคราสนิมขาวของผักบุ้ง ที่เกิดจากเชื้อรา Albugo ipomoeae-aquaticae. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 13(1), 26–33. https://doi.org/10.14456/paj.2016.3
บท
บทความวิจัย