ผลการฉีดฮอร์โมน PGF2α โคเนื้อลูกผสมฮินดูบราซิลที่ไม่แสดงอาการเป็นสัด เพื่อจัดรอบการเป็นสัดในจังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการฉีดฮอร์โมน PGF2α ในโคเนื้อพันธุ์ลูกผสมฮินดูบราซิลเพื่อจัดรอบการเป็นสัด โดยใช้กลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษา คือ โคเนื้อพันธุ์ลูกผสมฮินดูบราซิลที่มีปัญหาไม่แสดงอาการเป็นสัดในเขตอำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 20 ตัว ผลการวิจัยพบว่าจากโคที่มีปัญหาไม่แสดงอาการเป็นสัดจำนวน 20 ตัวเมื่อทำการล้วงตรวจระบบสืบพันธุ์ทางทวารหนัก มีโค 14 ตัว ตรวจพบคอร์พัสลูเตียม (corpus luteum) คิดเป็น 70% (14/20) ส่วนอีก 6 ตัวตรวจไม่พบคิดเป็น 30% (6/20) โคที่ตรวจพบคอร์พัสลูเตียมจะได้รับการฉีดฮอร์โมน PGF2α ปรากฏว่า 12 ตัว แสดงอาการเป็นสัดหลังจากได้รับการฉีดฮอร์โมนคิดเป็น 85.71% (12/14) อีก 2 ตัวไม่แสดงอาการเป็นสัดคิดเป็น 14.29% (2/14) การนำฮอร์โมนPGF2α มาใช้กับโคที่มีปัญหาไม่แสดงอาการเป็นสัดในกรณีที่ตรวจพบคอร์พัสลูเตียมสามารถทำให้โคกลับมาแสดงอาการเป็นสัดได้มากกว่าโคไม่แสดงอาการเป็นสัดหลังจากได้รับการฉีดฮอร์โมน PGF2α ร้อยละ 71.43