พิษเฉียบพลันของพาราควอทและไกลโฟเสทต่อระยะคัพภะของปลาหมอไทย (Anabas testudineus)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของพาราควอทและไกลโฟเสทต่อการพัฒนาระยะคัพภะของปลาหมอไทย โดยนำไข่ของปลาหมอไทยมาทดสอบกับสารทั้ง 2 ชนิด โดยใช้ความเข้มข้นของพาราควอทที่ 0.01 0.03 และ 0.1 mg/L และความเข้มข้นของไกลโฟเสทที่ 0.02 0.05 และ 0.2 mg/L ตามลำดับ จากนั้นสังเกตอัตราการตาย อัตราการฟัก และอัตราการเต้นของหัวใจ ผลการทดลองพบว่า ไข่ปลาหมอไทยที่ได้ทดสอบกับพาราควอทและไกลโฟเสทที่ทุกระดับความเข้มข้นมีผลต่ออัตราการตายและอัตราการฟัก ส่วนอัตราการเต้นของหัวใจ และการพัฒนาด้านอื่นๆ เช่น ระยะการสร้างส่วนหัวและหาง และระยะสร้างกระดูกสันหลัง พบว่าไข่ปลาหมอไทยในกลุ่มทดลองมีการพัฒนาใกล้เคียงกับกลุ่มควบคุม และเมื่อเปรียบเทียบความเป็นพิษของพาราควอทและไกลโฟเสท พบว่า พาราควอทมีผลต่ออัตราการตายของไข่ปลาหมอไทยมากกว่าไกลโฟเสท นอกจากนั้นผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า อัตราการตายและอัตราการฟักมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p<0.05)