การกำจัดสารโนนิลฟีนอลในตัวกลางที่เป็นของเหลวโดยใช้พืชน้ำ

Main Article Content

มัลลิกา ธีระกุล
ปิยะวดี สราภิรมย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของพืชที่มีความสามารถในการกำจัดสารโนนิลฟีนอล (Nonylphenol) ที่ปนเปื้อนในตัวกลางที่เป็นของเหลว โดยใช้พืชน้ำ 2 กลุ่ม ประกอบด้วย พืชน้ำที่รับประทานไม่ได้ 4 ชนิด คือ พุทธรักษา (Canna spp.) ผั ก กู ด น้ำ เ ข า ก ว าง ( CeratopteristhalictroidesL. Brongn) แ ห น แ ดง ( Azolla spp.) แ ล ะ แ พง พ ว ย น้ำ (JussieuarepensLinn.) แ ล ะพื ชที่ รับป ร ะท านไ ด้ 3 ชนิ ด คื อ ผั ก ชี ล้ อม (Foeniculumvulgare Mill.) ใบบั วบ ก (Centellaasiatica Urban) และแว่นแก้ว (Hydrocotyle umbellate L.) โดยทำการปลูกพืชแต่ละชนิดลงในขวดแก้วขนาด 240 มล.ที่บรรจุสารละลายไฮโดรโปนิกส์ผสมโนนิลฟีนอลที่ความเข้มข้น 1 มก./ล.และ 20 มก./ล.ปริมาตร 200 มล.จากนั้นทำการเก็บตัวอย่างในวันที่ 0, 3, 6, 9, 12, 15, 18 และ 21 สกัดสารละลายด้วยวิธีการสกัดของเหลวด้วยของเหลวและวิเคราะห์ปริมาณสารโนนิลฟีนอลที่เหลืออยู่ด้วยเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์พร้อมทั้งศึกษาการรอดชีวิตของพืชในวันสุดท้ายของการทดลอง จากผลการศึกษาพบว่าแพงพวยน้ำสามารถบำบัดสารได้สูงสุด (มากกว่า 86%) เมื่อความเข้มข้นของสารโนนิลฟีนอลต่ำ (1 มก./ล.) แต่เมื่อความเข้มข้นของสารโนนิลฟีนอลสูงขึ้นเป็น 20 มก./ล.พบว่าพุทธรักษาสามารถบำบัดสารโนนิลฟีนอลได้ดีเทียบเท่ากับผักชีล้อม (มากกว่า 81%) โดยใบบัวบกสามารถบำบัดสารโนนิลฟีนอลได้ต่ำที่สุดในการทดลองทั้งสองความเข้มข้นคือสามารถบำบัดได้เพียง 74% (1 มก./ล.) และ 62% (20 มก./ล.) ในขณะที่ตัวอย่างควบคุมที่ไม่มีการปลูกพืชทั้งสองความเข้มข้น พบว่าสารโนนิลฟีนอลสามารถถูกก าจัดจากสารละลายได้น้อยกว่า 30% เมื่อศึกษาถึงการรอดชีวิตของพืชที่ปลูกในสารละลายที่ปนเปื้อนสารโนนิลฟีนอลทั้งสองความเข้มข้น พบว่าในวันสุดท้ายของการทดลองพุทธรักษา ผักชีล้อม และแว่นแก้วมีการรอดชีวิตทั้งหมด 100% และพืชที่ไม่สามารถรอดชีวิตในวันสุดท้ายของการทดลอง คือผักกูดน้ำเขากวาง ใบบัวบก และแหนแดง ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าโนนิลฟีนอลสามารถถูกกำจัดได้ดีในสารละลายที่มีการปลูกพืช ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพืชสามารถเร่งการกำจัดสารโนนิลฟีนอลที่ตกค้างในสารละลายได้ดี

Article Details

How to Cite
ธีระกุล ม. ., & สราภิรมย ป. . (2021). การกำจัดสารโนนิลฟีนอลในตัวกลางที่เป็นของเหลวโดยใช้พืชน้ำ. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 13(1), 87–95. https://doi.org/10.14456/paj.2016.10
บท
บทความวิจัย