ห่วงโซ่อุปทานไก่พื้นเมือง กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

จรีวรรณ จันทร์คง
ณปภัช ช่วยชูหนู
ประพจน์ มลิวัลย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาสถานภาพการผลิต การตลาดและห่วงโซ่อุปทานของไก่พื้นเมือง ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง พ่อค้ารวบรวมและพ่อค้าขายไก่พื้นเมืองชำแหละ ผู้ประกอบการร้านอาหาร และผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงไก่พื้นเมืองรูปแบบปล่อยลาน และกึ่งขังกึ่งปล่อย สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยง ประกอบด้วย ไก่แดง ไก่คอล่อน ไก่ศรีวิชัย ไก่ชี และไก่เบตง ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 16 – 18 สัปดาห์ต่อรอบการผลิต น้ำหนักตัวเฉลี่ยประมาณ 1.5 กิโลกรัม/ตัว ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายไก่พื้นเมือง พบว่ากลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  นิยมจำหน่ายในรูปแบบไก่มีชีวิต มีราคาขายเฉลี่ย 70-80 บาทต่อกิโลกรัม  ทั้งนี้พบว่าเกษตรกรนิยมจำหน่ายให้พ่อค้ารวบรวมในท้องถิ่นมากที่สุด ส่วนโครงสร้างตลาดไก่พื้นเมือง เป็นลักษณะตลาดผู้ขายน้อยราย (pure oligopoly) คือ ในตลาดมีจำนวนผู้ขายน้อยราย ที่มีสินค้าเหมือนหรือใกล้เคียงกันทุกประการ และอำนาจการกำหนดราคาขึ้นอยู่กับพ่อค้ารวบรวมและพ่อค้าขายส่ง ด้านการศึกษาห่วงโซ่อุปทานไก่พื้นเมือง ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แสดงให้เห็นว่าห่วงโซ่อุปทานไก่พื้นเมืองในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง ซึ่งมีทั้งดำเนินการแบบเกษตรกรรายย่อย  และกลุ่มเครือข่าย พ่อค้ารวบรวมไก่มีชีวิต พ่อค้าขายส่ง/ขายปลีกไก่ชำแหละ ซึ่งอาจเป็นบุคคลเดียวกัน  ร้านค้าหรือผู้ประกอบการร้านอาหาร และผู้บริโภคคนสุดท้าย การศึกษาห่วงโซ่อุปทานไก่พื้นเมืองครั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นข้อมูลสำหรับการพัฒนาการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเชิงพาณิชย์ในระดับชุมชนให้กับเกษตรกรต่อไป

Article Details

How to Cite
จันทร์คง จ., ช่วยชูหนู ณ., & มลิวัลย์ ป. . (2022). ห่วงโซ่อุปทานไก่พื้นเมือง กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 19(2), 66–73. https://doi.org/10.14456/paj.2022.20
บท
บทความวิจัย

References

Boonman, C. & Weesaphen, S. (2009). The evaluation of feasibility of native chicken production for commerce in the community level case study: Mai Ma-Dan grilled chicken, Baan-Kean grilled chicken and native chicken trading in the market of Srisaket, Yasothorn, and Ubon Ratchathani Provinces (Research report). Bangkok: Thailand Research Fund (TRF). (in Thai)

Chankong, J., & Chauychu-noo, N. (2021). Production potential and economic, society and environmental impacts of Khaolak black bone chicken, Trang Province. Prawarun Agrilcultural Journal, 18(1), 80-87. (in Thai)

Chuaychu-noo, N., Ponatong, B., Kakulpim, P., & Chankong, J. (2022). Cost - benefit analysis and distribution channel of Dang chicken in Southern region. Prawarun Agrilcultural Journal, 19(1), 59-65. (in Thai)

Information and Communication Technology Center, Department of livestock Development. (2021). Database system for farmers. Accessed October 30, 2021. Retrieved from: https://opendata.nesdc.go.th/dataset/d7681470-0120-47ab-8315-5cd28b9539c8/resource/1b116b37-ce19-415d-ae04-dd734add184f/download/-2564.pdf. (in Thai)

Leotaragul, A., Prathum, C., & Morathop, S. (2009). Guidance for customers perception of Pradu Hangdum Chiangmai chicken (Research report). Bangkok: Thailand Research Fund (TRF). (in Thai)

Leotaragul, A., Prathum, C, Pangmao S., & Phianmongkhol, A. (2010). Satisfaction of consumers with native chicken (Pradu Hangdum Chiangmai) meat. Khon Kaen Agriculture Journal, 38, 104-107. (in Thai)

Laopaiboon, B., Duangjinda, M., Vongpralab, T., Sanchaisuriya, P., Nantachai, K., & Boonkum, W. (2010). Testing of growth performances and meat tenderness in crossbred chicken from Thai indigenous sire and commercial dam. Khon Kaen Agriculture Journal, 38(4), 373-384. (in Thai)

Nualhnuplong, P., Wattanachant, C., Wattansit, S., & Somboonsuke, B. (2019). Market structure marketing channel and supply chain of Betong chicken in Pattani Yala and Narathiwat Provinces. Journal of Agricultural Research and Extension. 36(3), 78-85. (in Thai)

Pongvichai, S. (2008). Statistical data analysis by computer. (19th ed.) Bangkok.: Chulalongkorn University printing house. (in Thai)

Prapasawat, C., Laothong, S., Leotaragul, A., Rattanachawanon, P., & Prasert, C. (2012). Economic development of native chicken (Chee-Tha Pra) to response for career of farmers and consumers (Research report). Bangkok: Thailand Research Fund (TRF). (in Thai)

Saenkhunthow, U., Prasert, C., & Nonta, K. (2016). Study on the system of production and marketing of Thai native chicken In Maha Sarakham Province. Accessed April 15, 2020. Retrieved from: http://region4.dld.go.th/webnew/images/stories/vichakarn/04-2-04-60.pdf. (in Thai)

Wongsuthavas, S., & Sombun, K. (2009). Feasibility study of the using of native chicken or native hybrid chicken for commercial in community level: Sakon Nakhon Province (Research report). Bangkok: Thailand Research Fund (TRF). (in Thai)

Tang, H., Gong, Y. Z., Wu, C. X., Jiang, J., Wang, Y., & Li, K. (2009). Variation of meat quality traits among five genotypes of chicken. Poultry Science, 88(10), 2212–2218.

Yamane, T. (1973). Statistic: an introductory analysis. (3rd ed.) New York: Harper and Row.