การพัฒนาระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับความผิดปกติของน้ำในท่อประปาภูเขา ด้วยเทคโนโลยี IoT เพื่อการเกษตรและอุปโภคของชุมชนตาดรินทอง จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

สามารถ สินทร
สิทธิชัย บุษหมั่น
ประมุข ศรีชัยวงษ์
สมโภช ทองน้ำเที่ยง
ชนัญชิดา ซองผม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ปัญหาท่อน้ำแตกหรืออุดตันในการเกษตรและอุปโภคของชุมชน ซึ่งเป็นหนึ่งของงานวิจัย เรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีคัดแยกเศษตะกอนในน้ำประปาภูเขาจากภูมิปัญญา “ท้องช้าง” สู่นวัตกรรมเฝ้าระวังเตือนภัยด้วย IoT ผ่าน Application เพื่อชุมชนบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนในภาวะภัยแล้ง วิธีการดำเนินงาน โดยการสังเคราะห์ค่าเซ็นเซอร์ที่เหมาะสมกับพื้นที่แล้วให้ระบบแจ้งเตือนภัยเมื่อมีเหตุผิดปกติจากน้ำขุ่นหรือมีตะกอนอุดตัน พร้อมสามารถสั่งการเปิด-ปิดระบบน้ำประปาภูเขาผ่าน Application (App) ได้ ผลการวิจัย พบว่า ระบบใช้เซ็นเซอร์มาวิเคราะห์ค่าน้ำเพื่อเฝ้าระวังเตือนภัยความผิดปกติน้ำโดยเซ็นเซอร์วัดอยู่ 3 ชนิด คือ 1) วัดความขุ่น-ใส สำหรับตรวจจับฝุ่นตะกอนแล้วให้แจ้งเตือนไป App ถ้าหากมีค่ามากกว่า 25 NTU 2) วัดการไหลของน้ำ สำหรับตรวจจับการไหลน้ำในท่อแล้วให้แจ้งเตือนไป App ถ้ามีค่าผิดปกติไปจากช่วง 200-250 ลิตรต่อชั่วโมง และ 3) วัดแรงดันน้ำ สำหรับตรวจจับแรงดันน้ำในท่อแล้วให้แจ้งเตือนไป App ถ้ามีค่าผิดปกติไปจากช่วง 2.00-3.00 Bar จากนั้นได้นำองค์ความรู้เซ็นเซอร์ใหม่นี้ไปพัฒนากับเทคโนโลยี IoT พร้อมสร้าง App มาเฝ้าระวังและสั่งการเปิด-ปิดเมื่อระบบน้ำผิดปกติได้ทันที ซึ่งช่วยลดปัญหาการสูญเสียน้ำในการเกษตรและอุปโภคได้ 188 ครัวเรือน จำนวน 443 คน พื้นที่ 14,525 ไร่ ใน 5 ชุมชน คือ หมู่ 6 บ้านตาดรินทอง หมู่ 12 บ้านตาดภูทอง หน่วยป้องกันรักษาป่า (ชย.11) โรงเรียนบ้านตาดรินทอง วัดป่ามหาวัน โดยระบบช่วยแก้ปัญหาพืชขาดน้ำและตายแล้งคืนความสมบูรณ์พื้นที่ จนกลายเป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ขายพืชน้ำและสัตว์น้ำ 150,000 บาท/ปี ส่วนมูลนิธิไทยรักป่าจำหน่ายต้นกล้าไม้ได้ 224,780 บาท/ปี และชุมชนก็เก็บเงินค่าน้ำเข้ากองทุนบริหารน้ำได้ 75,895 บาท/ปี

Article Details

How to Cite
สินทร ส., บุษหมั่น ส. ., ศรีชัยวงษ์ ป. ., ทองน้ำเที่ยง ส. ., & ซองผม ช. . (2022). การพัฒนาระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับความผิดปกติของน้ำในท่อประปาภูเขา ด้วยเทคโนโลยี IoT เพื่อการเกษตรและอุปโภคของชุมชนตาดรินทอง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 19(2), 143–149. https://doi.org/10.14456/paj.2022.30
บท
บทความวิจัย

References

Bahrudin, M. S. B., Kassim, R. A., & Buniyamin, N. (2013). Development of fire alarm system using Raspberry Pi and Arduino Uno. Proceedings of international conference on electrical, electronics and system engineering (ICEESE) (pp. 43-48). Malaysia: Kuala Lumpur. doi:10.1109/ICEESE.2013.6895040

Kaewmard, N., & Saiyod, S. (2014). Sensor data collection and irrigation control on vegetable crop using smart phone and wireless sensor networks for smart farm. Proceedings of international conference on wireless sensors (ICWiSE) (pp. 106-112). Malaysia: Subang.doi: 10.1109/ICWISE.2014.7042670.

Kamilaris, A., Gao, F., Francesc X., Prenafeta, B., & Ali, M. I. (2016). Agri-IoT: A semantic framework for internetof things-enabled smart farming applications. Proceedings of the 3rd world forum on internet of things (WF-IoT) (pp. 442-447). United States: Reston, Virginia. doi: 10.1109/WF-IoT.2016.7845467.

Rotrueangrai, S. (2018). Supporting research for local communities bring about revival life and nature of the Lapatao river Basin with participation of community and network partners in Chaiyaphum Province. Proceedings of the 11th Thailand renewable energy for community conference: TREC-11 (pp.102-103). Thailand: Chaiyaphum Rajabhat University. (in Thai)

Saekratok, N., & Visalo, P. (2018). The mountain water supply management model project that is conducive to conservation Phu Long Watershed by the participation of people in the community Tadrinthong house, That Thong subdistrict, Phu Khiao district Chaiyaphum Province. Proceedings of the 11th Thailand renewable energy for community conference: TREC-11 (pp.88-89). Thailand: Chaiyaphum Rajabhat University. (in Thai)

Simon, P., Moraru, S. A., & Perniu, L. (2013). Android application developed to extend health monitoring device range and real-timepatient tracking. Proceedings of the 9th international conference on computational cybernetics (ICCC) (pp. 171-175). Hungary: Tihany.doi: 10.1109/ICCCyb.2013.6617624.

Sinton, S. (2013). Develop a video recommendation system using content-based filtering technique. Proceedings of the 3rd national conference on the guide path leading for developing country on the context of ASEAN community (pp. 116-117). Thailand: Chaiyaphum Rajabhat University. (in Thai)

Sinton, S., Songsanit, S., & Simmatun, P. (2016). Development of a blended learning model using activities as a base according to the theory of multiple intelligences to promote critical thinking for undergraduate students. Accessed October 22, 2022. Retrieved fromhttp://www.thai-explore.net/file_upload/submitter/file_doc/823c354f82f0a78ff22bfcec29e99095.pdf (in Thai)