การยอมรับเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำของเกษตรกรในอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

พรรษสรณ์ ชาญบัณฑิตนันท์
เออวดี เปรมัษเฐียร
อภิชาต ดะลุณเพธย์

บทคัดย่อ

       เทคโนโลยีเกษตรแม่นยำเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการเกษตร มีประโยชน์ที่หลากหลายแต่การนำไปประยุกต์ใช้ยังมีในอัตราที่จำกัด งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ทางเศรษฐกิจและสังคม ลักษณะการทำเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยเก็บข้อมูลจากเกษตรกรจำนวน 396 ราย ด้วยแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำด้วยสมการถดถอยโลจิสติกส์ และคำนวณผลกระทบส่วนเพิ่ม ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มเกษตรกรตัวอย่างที่อยู่ในเกณฑ์ยอมรับเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำส่วนใหญ่มีอายุในช่วง 31-60 ปี ร้อยละ 81.08 มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป ร้อยละ 74.33 โดยมีรายได้และหนี้สินมากกว่ากลุ่มที่ไม่ยอมรับฯ ในด้านลักษณะการทำเกษตร พบว่ากลุ่มที่ยอมรับเทคโนโลยีฯ ส่วนใหญ่ ปลูกผักต่าง ๆ และมันสำปะหลัง โดยมีพื้นที่เพาะปลูก ประสบการณ์ฝึกอบรม และมีระบบน้ำใช้ในการเกษตรมากกว่ากลุ่มที่ไม่ยอมรับฯ ส่วนปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความน่าจะเป็นในการยอมรับเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ การศึกษา การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟน มีระบบน้ำใช้ในการเกษตร มีการพบปะเกษตรกรผู้นำบ่อยครั้ง  ดังนั้นควรมีการส่งเสริมเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำให้แก่เกษตรกรที่ใช้สมาร์ทโฟน การมีระบบน้ำไว้ใช้ในพื้นที่เกษตรกรรมจัดให้มีการประชุมพบปะผู้นำเกษตรให้บ่อยครั้ง สร้างเสริมการรับรู้และความตั้งใจที่จะใช้เทคโนโลยีฯ เป็นส่วนช่วยให้เกษตรกรให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยีฯ ในอัตราที่เพิ่มขึ้น

Article Details

How to Cite
ชาญบัณฑิตนันท์ พ., เปรมัษเฐียร เ., & ดะลุณเพธย์ อ. (2022). การยอมรับเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำของเกษตรกรในอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 19(2), 82–90. https://doi.org/10.14456/paj.2022.22
บท
บทความวิจัย

References

Apideth, C., Saisakul, F., Phutthisun, K., Papob, J., Naparat, V., & Taveechai, K. (2019). Factors affecting adoption corn planting technology of farmers in Phawo sub-district, Mae Sot district, Tak province. Journal of Agricultural production, 1(1), 43-53. (in Thai)

Dammer, K. H., & Adamek, R. (2012). Sensor‐Based Insecticide Spraying to Control Cereal Aphids and Preserve Lady Beetles. Agronomy Journal, 104(6), 1694-1701. doi:10.2134/agronj2012.0021

Kanlaya, W. (2009). Statistics for research. Bangkok: Department of Statistics Faculty of Commerce and Accountancy Chulalongkorn University. (in Thai)

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Michael, H. C., Bradley, D. L., & Joe D. L. (2016). Factors Influencing the Adoption of Precision Agriculture Technologies by Nebraska Producers. Paper presented at the Presentations, Working Papers, and Gray Literature, Agricultural Economics.49.

Miller, N. J., Griffin, T. W., Bergtold, J., Ciampitti, I. A., & Sharda, A. (2017). Farmers’ Adoption Path of Precision Agriculture Technology. Advances in Animal Biosciences, 8(2), 708-712. doi:10.1017/s2040470017000528

Nipon, P., Kumpon, P., & Nuttida, W. (2020). Agricultural Technology Policies 4.0. Thailand development research institute, 9-10. (in Thai)

Pisuttipan, K., Roongroj, P., & Suwanna, P. (2016). Adoption of Tailor-made fertilizer technology for rice production in Bang Rakam District, Phitsanulok Province. (Master’s thesis). Department of Agricultural and Resource Economics. Kasetsart University. (in Thai)

Rainbow, R. (2004). Getting into Precision Agriculture – The Basics. Precision AgNews Winter and Southern Precision Agriculture Association, 2nd June 2006.

Yuthapichai, R., Aerwadee, P., & Apichart, D. (2020). Factors affecting farmer’s adoption of seeding machine for dry paddy field in Surin province. KhonKaen Agr. J. 48(4): 857-868 doi:10.14456/kaj.2020.78. (in Thai)

Zhang, N., Wang, M., & Wang, N. (2002). Precision agriculture: A worldwide overview. Computers and Electronics in Agriculture, 36(2-3), 113-132.