ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชในคลองทอน ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำในคลองทอน ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลอง หอยโข่ง จังหวัดสงขลา เก็บตัวอย่างทุกเดือน ในช่วงเดือนสิงหาคม-เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 และเดือนมกราคม-เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 รวมทั้งสิ้น 3 สถานี ในการศึกษาครั้งนี้พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 6 ดิวิชัน 63 สกุล ประกอบด้วย ดิวิชัน Cyanophyta, Chlorophyta, Bacillariophyta, Pyrrophyta, Chrysophyta และ Euglenophyta โดยพบ ดิวิชัน Chlorophyta มากที่สุด จำนวน 29 สกุล คิดเป็น 46.03 % ของจำนวนสกุลแพลงก์ตอนพืชที่พบทั้งหมด % ความถี่ของแพลงก์ตอนพืชที่พบมากที่สุด 100 % มี 25 สกุล ส่วนใหญ่อยู่ในดิวิชัน Chlorophyta และ Bacillariophyta องค์ประกอบชนิดแพลงก์ตอนทั้งหมดแบ่งตามการจัดลำดับทางอนุกรมวิธานในระดับของดิวิชันที่พบมาก คือ Bacillariophyta (43.15 %) และแบ่งตามการจัดลำดับทางอนุกรมวิธานในระดับของสกุลที่พบมาก คือ Navicula spp. (20.59 %) ดัชนีความหลากหลายของชนิดแพลงก์ตอนพืช ในสถานีที่ 2 มีค่ามากที่สุด (2.55) ดัชนีความมากชนิดพบมากที่สุดในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 5.88 โดยแพลงก์ตอนพืชที่พบได้บ่อยในทุกสถานี และมีความหนาแน่นมาก ซึ่งเป็นแพลงก์ตอนพืชสกุลเด่น ได้แก่ Fragilaria spp. (กลุ่มไดอะตอม) Oscillatoria spp. (กลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) และ Trachelomonas spp. (กลุ่มยูกลีน่า) คุณภาพน้ำที่ส่งผลต่อความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืช คือ ความเป็นกรด-ด่าง ซึ่งมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.361 ผลจากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งน้ำและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ ส่งผลให้มีการร่วมมือกันในการจัดทำแผนการเลี้ยงสัตว์น้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
Article Details
References
Clarke, K. R., & Warwick, R. M. (1994). Changes in marine communities: an approach to statistical analysis and interpretation (1st ed.). Plymouth, United Kingdom: Plymouth Marine Laboratory.
Coastal Aquaculture Department of Fisheries. (2008). Methods for analyzing water quality for coastal aquaculture. (2nd ed). Bangkok: Agricultural Co-Operative Federation of Thailand Ltd. (in Thai)
Fenchel, T. (1988). Marine plankton food chains. Annual Review of Ecology and Systematics, 19(1), 19-38.doi:10.1146/annurev.es.19.110188.000315
Hassan, F. M., El-Sheekh, M. M., & Wahhab, T. A. (2023). Environmental factors drive phytoplankton primary productivity in a shallow Lake. Egyptian Journal of Aquatic Biology & Fisheries, 27(2), 1–12.doi:10.21608/EJABF.2023.288620
Hynes, H. B. N. (1971). The ecology of running water. Toronto, Canada: University of Toronto Press,
Keawkhiew, P., Keawtip, S., Seetakroses, P., & Montien-art, B. (2013). Biodiversity of fish in Maesaw Creek at the intiative highland agricultural development station project, Ban Santisuk, Khunkual subdistrict, Phong district, Phayao Province. Journal of Fisheries Technology Research,7(2), 70-81. (in Thai)
Lommetta, K., Phaewcham, S., & Matchakuea, U. (2020). Diversity of phytoplankton in the monkey cheeks water detention project’s (Bung Ban Khom) under Royal Initiative of his Majesty, Chanthaburi Province. Rajabhat Rambhai Barni Research Journal, 14(1), 42-51. (in Thai)
Moonsin, P., Piyawong, C, Ruksil, M., & Moonsin, R. (2018). Diversity of phytoplankton as bioindicator in Rasi Salai Dam, Si Sa Ket Province. Journal of Fisheries Technology Research, 12(2), 63-75. (in Thai)
Paibulkichakul, B. C., Kraisin, L., Chimphe, S., & Paibulkichakul, C. (2015). Phytoplankton diversity at Baan Bang Sa Kaow, Laem Sing District, Chanthaburi Province. Khon Kaen Agriculture Journal, 43 (Suppl. 1), 568-573. (in Thai)
Swingle, H. S. (1950). Relationships and dynamics of balanced and unbalanced fish population (1st ed.). Alabama, United States. Agricultural Experiment Station of the Alabama Polytechnic Institute.
Washington, H. G. (1984). Diversity, biotic and similarity indices: a review with special relevance to aquatic ecosystems. Water Research, 18(6), 653-694.
Wongrat, L. (1999). Phytoplankton. Bangkok: Kasatsart University, (in Thai)