ผลของการใช้แหนแดงในวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักสลัด

Main Article Content

ธัญรัตน์ พรมดอนยาง
ปริญดา แข็งขัน
เอกรินทร์ สารีพัว

บทคัดย่อ

แหนแดงเป็นเฟิร์นน้ำขนาดเล็กที่สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดได้ เนื่องจากมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูงที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช จึงได้ศึกษาการใช้แหนแดงแห้งเป็นแหล่งปุ๋ยอินทรีย์ในวัสดุผสมดินปลูก เพื่อหาอัตราการใช้ที่เหมาะสมในการตอบสนองด้านการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักสลัดที่ปลูกในภาชนะ โดยวางแผนการทดลองแบบ 2x6 Factorial in CRD ใน 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) ชนิดผักสลัด คือ สายพันธุ์กรีนคอสและบัตเตอร์เฮด 2) อัตราการใช้แหนแดงแห้งในวัสดุผสมดินปลูก จำนวน 5 กรรมวิธี เปรียบเทียบกับปุ๋ยคอก 1 กรรมวิธี จากการทดลอง พบว่า การเจริญเติบโตด้านความสูงต้นของผักสลัดกรีนคอสมากกว่าผักสลัดบัตเตอร์เฮด ในขณะที่จำนวนใบในผักสลัดบัตเตอร์เฮดมากกว่าผักสลัดกรีนคอส แต่ในด้านผลผลิตผักสลัดทั้งสองสายพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนการศึกษาอัตราการใช้แหนแดงแห้งที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของผักสลัด พบว่า การนำแหนแดงแห้งมาใช้เป็นวัสดุผสมดินปลูกในผักสลัดทั้ง 2 สายพันธุ์ มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีที่สุด คือ การใช้แหนแดงแห้ง 5 % รองลงมาคือแหนแดงแห้ง 4 % ในขณะที่การใช้แหนแดงแห้ง 1 % มีการเจริญเติบโตและผลผลิตต่ำที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ธาตุอาหาร จากการวิเคราะห์ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต พบว่า มีปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับกรรมวิธีอื่น ๆ ดังนั้น อัตราส่วนที่เหมาะสมในการปลูกผักสลัด คือ แหนแดงแห้งในอัตราส่วน 5 % หรือแหนแดงแห้ง 5 กิโลกรัมต่อวัสดุปลูก 100 กิโลกรัม

Article Details

How to Cite
พรมดอนยาง ธ. ., แข็งขัน ป. ., & สารีพัว เ. (2023). ผลของการใช้แหนแดงในวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักสลัด. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 20(2), 50–57. https://doi.org/10.14456/paj.2023.27
บท
บทความวิจัย

References

Arora, A., & Singh, P. K. (2003). Comparison of biomass productivity and nitrogen fixing potential of Azolla SPP. Biomass and Bioenergy, 24(3) 175-178. doi: 10.1016/S0961-9534(02)00133-2

Chanasabang, C., Thongbut, C., & Thonsiri, P. (2020). Effect of chemical fertilizer, swine manure, and dried azolla application on growth of choy sum (Brassica chinensis L.). Proceedings of the 6th Research and development for community among the disruptive environment conference 2020 (pp.1447-1452). Loei: Loei Rajabhat University. (in Thai)

Chuphutsa, C. (2010). Relationship between nitrogen released from organic fertilizer and Chinese kale (Brassica oleracea) growth and yield in organic farming system (Master’s thesis). Nakhon Ratchasima: Suranaree University of Technology. (in Thai)

Kaewsuralikhit, S., Thongra-ar, P., Chatchaisiri, K., & Saradhuldhat, P. (2018). Effect of dry azolla (Azolla microphylla) on growth of Pak Choi (Brassica chinensis). Proceedings of the 17th national horticultural congress 2018: to the new frontiers of horticulture (pp.332-337). Chiang Mai: Chiang Mai University.

Moonsan, P., & Thonsiri, P. (2018). Growth of kailaan in soil mixed with Azolla spp. Proceeding of Wisdom integration for innovation and sustainable development conference (pp.2228-2696). Loei: Loei Rajabhat University. (in Thai)

Nam, K. W., & Yoon, D. H. (2008). Usage of Azolla spp. as a biofertilizer on the environmental-friendly agriculture. Korean Journal of Plant Resources, 21(3), 230-235.

Sriplang, K., Pansang, S., & Kaeokom, P. (2011). Study of appropriate conditions for growth of Azolla spp. in local community and blue-green algae to increase rice yield (Research Report). Phetchabun: Phetchabun Rajabhat University. (in Thai)