อิทธิพลของสารพาโคลบิวทราโซลและเอทิฟอนต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของมะเขือเทศที่ระยะสุกแก่ต่างกัน

Main Article Content

สุธาทิพย์ คนซื่อ
สำราญ พิมราช

บทคัดย่อ

ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งในการปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศคือการใช้เวลานานกว่าจะได้มาซึ่งมะเขือเทศพันธุ์ดีและเป็นที่ต้องการของตลาด รวมทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการปรับปรุงพันธุ์และการดูแลจัดการ การควบคุมการเจริญเติบโตให้ง่ายต่อการจัดการ และการเร่งอายุในการเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่จะนำไปปลูกในชั่วรุ่นต่อไปจึงมีความสำคัญต่อการปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศให้พันธุ์ได้เร็วขึ้นและได้เปรียบทางการตลาด งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สารพาโคลบิวทราโซลและเอทิฟอนต่อการเจริญเติบโต อายุการเก็บเกี่ยว ผลผลิต และคุณภาพของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ วางแผนงานทดลองแบบ 3 x 6 Factorial experiment in Completely Randomized Design (CRD) จำนวน  3 ซ้ำ กำหนดให้ ปัจจัย A คือ สายพันธุ์มะเขือเทศ 3 สายพันธุ์ และปัจจัย B คือ ชนิดและระยะเวลาการให้สารควบคุมการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน 6 แบบ จากการศึกษาพบว่า มะเขือเทศทั้ง 3 สายพันธุ์การเจริญเติบโตแตกต่างกัน สายพันธุ์ C103 เป็นสายพันธุ์ที่มีอายุการออกดอกที่ล่าช้าว่าสายพันธุ์  A101 และ B102 อย่างไรก็ตาม ผลผลิตของมะเขือเทศทั้ง 3 สายพันธุ์ไม่แตกต่างกันในทางสถิติ มะเขือเทศสายพันธุ์ C103 เป็นพันธุ์ที่มีขนาดผลโต มีอายุเก็บเกี่ยวที่ช้ากว่าสายพันธุ์ A101 และ B102 หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้ 1 เดือนสายพันธุ์ A101 มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงกว่าสายพันธุ์ A102 และ A103 การใช้สารพาโคลบิวทราโซลเพียงอย่างเดียว และการใช้สารพาโคลบิวทราโซลร่วมกับการใช้สารเอทิฟอนมีผลทำให้การเจริญเติบโตลดลง โดยทำให้ความสูง จำนวนข้อ ความยาวปล้อง ความกว้างใบ ความยาวใบ และจำนวนใบของมะเขือเทศลดลง แต่จะมีความเข้มสีใบ (ค่า SCMR) เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับวิธีการควบคุม (ไม่ใช้สาร) ในขณะที่การใช้สารเอทิฟอนเพียงอย่างเดียวทั้งที่อายุ 65 และ 70 วันหลังจากหยอดเมล็ดส่งผลทำให้การเจริญเติบโตไม่แตกต่างไปจากวิธีการควบคุม การใช้สารพาโคลบิวทราโซลเพียงอย่างเดียว การใช้สารเอทิฟอนเพียงอย่างเดียว และการใช้สารพาโคบิทราโซลร่วมกับการใช้สารเอทิฟอนมีแนวโน้มทำให้มะเขือเทศออกดอกเร็วขึ้น และมีผลทำให้อายุเก็บเกี่ยวมะเขือเทศเร็วกว่าวิธีการควบคุม แต่จะมีแนวโน้มให้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ ซึ่งการให้สารพาโคลบิวทราโซลจำนวน 1 ครั้งที่อายุ 14 วันหลังจากหยอดเมล็ดร่วมกับการให้สารเอทิฟอนที่อายุ 65 วันหลังจากหยอดเมล็ดมีแนวโน้มให้อายุวันเก็บเกี่ยวสั้นที่สุด คุณภาพเมล็ดพันธุ์ในด้านเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดหลังจากเก็บรักษาไว้เป็นระยะเวลา 1 เดือนไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ แต่เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์หลังจากเก็บรักษาไว้เป็นระยะเวลา 3 เดือนมีความแตกต่างกันในทางสถิติ ในขณะที่ความเร็วในการงอกของเมล็ดในวิธีการใช้สารต่างๆ มีแนวโน้มทำให้ความเร็วในการงอกลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่ามีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสายพันธุ์มะเขือเทศกับชนิดและระยะเวลาการให้สารควบคุมการเจริญเติบโตในลักษณะความสูง ความยาวปล้อง วันออกดอก อายุเก็บเกี่ยว จำนวนผลต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อผล น้ำหนัก 1,000 เมล็ด และเปอร์เซ็นต์ความงอกในสภาพแปลงทดลอง ซึ่งการใช้สารพาโคลบิวทราโซลร่วมกับสารเอทิฟอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและได้เมล็ดพันธุ์เร็วขึ้น

Article Details

How to Cite
คนซื่อ ส., & พิมราช ส. (2023). อิทธิพลของสารพาโคลบิวทราโซลและเอทิฟอนต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของมะเขือเทศที่ระยะสุกแก่ต่างกัน. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 20(2), 122–131. https://doi.org/10.14456/paj.2023.36
บท
บทความวิจัย

References

Chowdhury, F., Khan, M. H. H., Miaruddin, M., Rahman, M., & Sabuz, A. A. (2020). Effect of ethephon on ripening and postharvest quality of tomato (Solanum Lycopersicum) during storage. Bangladesh Journal of Agricultural Research, 45(3), 303-314. doi:10.3329/bjar.v45i3.62952

Cumming, H. D., Yelverton, F. H., & Hinton, J. D. (2002). Use of gibberellic acid to reverse the effects of gibberellic acid inhibiting plant growth regulators. Accessed July 14, 2023. Retrieved from http://www.turffiles.ncsu.edu

Gaweda, M., Jedrszczyk, E. S., Skowera, B., Jedrzejczak, R., & Szymczyk, K. (2016). The effect of application of ethephon to processing tomato plants on the chemical composition of fruits. Notulae Botanicae Horti Agrobotanici Cluj-Napoca, 44(2), 484–490. doi:10.15835/nbha44210453

Kwon, O. S., & Bradford K. J. (1984). Seed quality and fruit ripening of tomato (Lycopersicon esculentum Mill.) as influenced by preharvest treatment with ethephon. Journal Applied Seed Production, 2, 54-57.

Office of Agricultural Economics. (2020). Agricultural economics information. Accessed November 20, 2023. Retrieved from https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/tomato%2063.pdf

Office of Agricultural Economics. (2020). Thailand foreign agricultural trade statistics 2020. Accessed November 20, 2023. Retrieved from https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2564/trade2563.pdf

Ramos-Fernández, J., Ayala-Garay, O. J., Pérez-Grajales, M., Sánchez-del Castillo, F., & Magdaleno-Villar, J. J. (2021). Effect of paclobutrazol on plant growth, yield and fruit quality in tomato. Bioagro, 33(1), 59-64. doi.org/10.51372/bioagro331.8

Sangudom, T. (2016). Plant growth regulators and guideline for use with fruits (1st ed.). Bangkok: Post Tech. (in Thai)

Silva, T. V., de Melo, H. C., de Abreu Tarazi, M. F., Junior, L. C. C., Campos, L. F. C., dos Reis Nascimento, A., & de Moraes Catarino, A. (2020). Biostimulants isolated or integrated with paclobutrazol as tomato development triggering factors. Emirates Journal of Food and Agriculture, 32(4), 255-262. doi:10.9755/ejfa.2020.v32.i4.2091

Techawongstien, S., Lapjit, C., Khamkula, K., Komnoo, J., Yokla, W., Prasomsuay, T., & Suemanotham, P. (2009). Varietal improvement of cherry tomato for good quality and high yield. Khon Kaen Agricultural Journal, 37(1), 51-60. (in Thai)

Tiwari, A. K., & Singh, D. K. (2014). Use of plant growth regulators in tomato (Solanum lycopersicum L.) under Tarai conditions of Uttarkhand. Indian Journal of Hill Farming, 27(2), 38-40.