การวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการก่อสร้างด้วยวิธีเมทริกซ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบริหารงานโครงการก่อสร้างมีเป้าหมายในการบริหารภายใต้คุณภาพ ระยะเวลาและต้นทุนของโครงการก่อสร้างโครงการก่อสร้างประสบปัญหาความล่าช้า คุณภาพต่ำ เกินวงเงิน เกิดจากปัจจัยเชิงลบโดยต้นเหตุจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ งานวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะห์ระดับความรุนแรงของปัจจัยเชิงลบต่อโครงการก่อสร้างจากการสอบถามกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในโครงการโดยตรงจำนวน 3 กลุ่มตามบทบาทหน้าที่ซึ่งแตกต่างกัน วิเคราะห์ความรุนแรงของปัจจัยด้วยการจัดอันดับด้วยค่าดัชนีความรุนแรง severity index รวมถึงวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงด้วย matrix risk เพื่อหาปัจจัยเชิงลบด้านคุณภาพ ด้านระยะเวลา ด้านต้นทุน ที่ต้องจัดการก่อนเกิดปัญหา ผลการวิเคราะห์ ปัจจัยเชิงลบที่ต้องถูกจัดการอย่างทันที จากมิติทั้ง 3 ด้านได้แก่ ปัจจัยจากกลุ่มผู้ว่าจ้าง (การกำหนดขอบเขตและวัตถุประสงค์ของงานก่อสร้างให้ชัดเจน กระบวนการตัดสินใจที่ล่าช้า การเปลี่ยนแปลงงานก่อสร้าง) ปัจจัยจากกลุ่มผู้ออกแบบและควบคุมงาน (การออกแบบที่ถูกต้องก่อสร้างได้จริง บทบาทและหน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมงาน) ปัจจัยจากกลุ่มผู้รับจ้าง (ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ความผิดพลาดจากการทำงานของผู้รับจ้าง) ทั้งนี้ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องจากความผิดพลาดในช่วงก่อนการก่อสร้าง ที่ส่งผลโดยตรงในช่วงระหว่างการก่อสร้าง ดั้งนั้นปัจจัยเชิงลบที่เกิดในช่วงก่อนการก่อสร้างจึงควรได้รับการจัดการก่อนเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดกับโครงการในระหว่างก่อสร้าง
Article Details
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นสิทธิของเจ้าของต้นฉบับและของวารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ เนื้อหาบทความในวารสารเป็นแนวคิดของผู้แต่ง มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะกรรมการการจัดทำวารสาร และมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
References
Alofi, A., Kashiwagi, J., & Kashiwagi, D. (2016). The perception of the government and private sectors on the procurement system delivery method in Saudi Arabia. Procedia Engineering, 145, 1394-1401.
Antoniou, F., Aretoulis, G. N., Konstantinidis, D., & Kalfakakou, G. P. (2012). Selection criteria used for the choice of contract type for major highway construction projects. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 48, 3508-3517.
Dziadosz, A., & Rejment, M. (2015). Risk analysis in construction project - chosen methods. Procedia Engineering, 122, 258-265.
Kongsong, W. (2017a). The factors of the conflict in construction works. International Journal of Engineering Research and Management, 4(8), 14-18.
Kongsong, W. (2017b). The reduction of the impacts in the contract management for government construction projects. International Journal of Applied Engineering Research, 12(23), 13310-13313.
Kongsong, W., & Pooworakulchai, C. (2018). Improving for construction contract management of government construction projects. International Journal of Civil Engineering and Technology, 9(7), 253-260.
Kongsong, W., & Pooworakulchai, C. (2019a). Lawsuit in the construction. RMUTSB Acad. J. (Humanities and Social Sciences), 4(1), 115-121. (in Thai)
Kongsong, W., & Pooworakulchai, C. (2019b). Cause of delay in the construction project by relative importance index method. The Journal of KMUTNB, 29(2), 270-281. (in Thai)
Marzouk, M. M., & El-Rasas, T. I. (2014). Analyzing delay causes in Egyptian construction projects. Journal of Advanced Research, 5, 49-55.
Ministry of Finance. The comptroller general’s department. The Standard Office of Government Procurement. (2014). Summary of public sector procurement, Fiscal Year B.E. 2555-2557. Reterived 21 December 2016, from http://www.gprocurement.go.th/wps/wcm/connect/7a15880045584724842ea6daee6bf126/Report+57_Q3.pdf?MOD=AJPERES, 2014
Mitkus, S., & Mitkus, T. (2014). Causes of conflicts in a construction industry: a communicational approach. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 110, 777-786.
Otairu, A. G., Umar, A. A., Zawawi, N. A. W. A., Sodangi, M., & Hammad, D. B. (2014). Slow adoption of PPPs in developing countries: Survey of Nigerian construction professionals. Procedia Engineering, 77, 188-195.
Peckiene, A., Komarovska, A, & Ustinovicius, L. (2013). Overview of risk allocation between construction parties. Procedia Engineering, 57, 889-894.
Pooworakulchai, C., Kongsong, W., & Kongbenjapuch, K. (2017). Affecting on contract administration in government construction projects. International Journal of Applied Engineering Research, 12(9), 2079-2086.
Polat, G., Okay, F., & Eray, E. (2014). Factors affection cost overruns in micro-scaled construction companies. Procedia Engineering, 85, 428-435.
Toth, T., & Sebestyen, Z. (2015). Time-varying risks of construction projects. Procedia Engineering, 123, 565-573.