การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมปังเพื่อสุขภาพจากแป้งแก่นตะวัน

Main Article Content

จิตรา สิงห์ทอง

บทคัดย่อ

             การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของแป้งแก่นตะวันพบว่า มีความชื้น เถ้า เยื่อใย โปรตีน ไขมันและอะไมโลสร้อยละ 7.52, 3.40, 3.10, 4.10, 2.51 และ 0.04 ตามลำดับ โดยมีองค์ประกอบส่วนใหญ่คือ คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 82.36 รวมทั้งมีปริมาณใยอาหารที่ละลายน้ำร้อยละ 40.07 ปริมาณใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำร้อยละ 13.04 และปริมาณใยอาหารทั้งหมดร้อยละ 53.11 สำหรับค่าความหนืดพบว่า เมื่อเพิ่มสัดส่วนของแป้งแก่นตะวันจะทำให้ค่า peak viscosity, final viscosity, breakdown และ setback ของแป้งขนมปังมีแนวโน้มลดลง แต่เมื่อทำการเติมแซนแทนกัมร้อยละ 0.5 ส่งผลให้ค่าดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น   เมื่อนำแป้งแก่นตะวันมาประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ขนมปังที่ระดับร้อยละ 0, 5, 10, 15 และ 20 พบว่าระดับที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ปริมาตรจำเพาะลดลง เนื้อสัมผัสแข็งขึ้น ความยากในการเคี้ยวมากขึ้น ค่าการเกาะตัวและความยืดหยุ่นลดลง แต่เมื่อทำการเติมแซนแทนกัมร้อยละ 0.5 ส่งผลให้ปริมาตรจำเพาะของขนมปังเพิ่มขึ้น เนื้อสัมผัสนุ่มขึ้น แรงในการเคี้ยวลดลง ค่าการเกาะตัวและความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น เมื่อทำการประเมินการยอมรับทางประสาทสัมผัสพบว่าขนมปังที่มีการเติมแป้งแก่นตะวันที่ระดับร้อยละ 5 ผู้บริโภคให้คะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสไม่แตกต่างจากตัวอย่างควบคุม

Article Details

บท
บทความวิจัย