การแก้ปัญหาการจัดตารางสอบโดยประยุกต์ใช้ระบบมดแบบ แม็ก-มิน

Main Article Content

ทิพวิมล ชมภูคำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาวิธีการอาณานิคมมดมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาการจัดตารางสอบ จากนั้นนำคำตอบที่ดีที่สุดด้วยวิธีการอาณานิคมมดมาพัฒนาโปรแกรมจัดตารางสอบวิชาศึกษาทั่วไป โดยใช้กรณีศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย
ราชภัฏมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบเทคนิคการหาคำตอบที่ดีที่สุดด้วยวิธีการอาณานิคมที่เหมาะสมกับปัญหาการจัดตารางสอบ ซึ่งในงานวิจัยนี้เทคนิคที่ดีที่สุด คือ ระบบมดแบบ แม็ก-มิน 2) ออกแบบและพัฒนาระบบจัดตารางสอบวิชาศึกษาทั่วไป โดยประยุกต์ใช้ระบบมดแบบ แม็ก-มิน ข้อมูลตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย รายวิชาศึกษาทั่วไปจำนวน 5 รายวิชา อาจารย์คุมสอบจำนวน 111 คน กลุ่มนักศึกษาจำนวน 124 กลุ่ม และห้องเรียนจำนวน 54 ห้อง ผลการวิจัย พบว่า ระบบมดแบบแม็ก-มิน โดยใช้พารามิเตอร์ที่เหมาะสมเพื่อกำหนดให้เป็นค่าเริ่มต้นของโปรแกรม ดังนี้ ค่าน้ำหนักของฟีโรโมนเท่ากับ 5 อัตราการระเหยของฟีโรโมนเท่ากับ 0.9 ค่าคงที่ใด ๆ เท่ากับ 5 ค่าฟีโรโมนสูงสุดเท่ากับ 1.11 ค่าฟีโรโมนต่ำสุดเท่ากับ 0.019 ใช้จำนวนมด 80 ตัว จำนวนรอบ 560 รอบ พบว่าการนำระบบมดแบบ แม็ก-มิน มาใช้แก้ปัญหาการจัดตารางสอบนั้นสามารถลดระยะเวลา ข้อผิดพลาด และปรับปรุงประสิทธิภาพโปรแกรมจัดตารางสอบได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Cooper, T., & Kingston, J. (1996).The complexity of timetable construction problems. Practice and theory of Automated timetabling: Vol. 1153. (pp. 281-295). Springer Berlin : Heidelberg.
[2] Lewis, R. (2008). A survey of metaheuristic-based techniques for university Timetabling problems. OR Spectrum, 30(1), 167-190.
[3] Azimi, Z. (2004). Comparison of metaheuristic algorithms for examination timetabling problem. Journal of Applied Mathematics and Computing, 16(1), 337-354.
[4] Burke, E. K., Kendall, G., Silva, D. L., O’Brien, R., & Soubeiga, E. (2005). An ant algorithm hyperheuristic for the project presentation scheduling problem. Paper presented at the Proceedings of the Congress on Evolutionary Computation 2005 (CEC’05).
[5] นิกร โภคอุดมและสมหญิง โภคอุดม. (2555). การจัดตารางคุมสอบด้วยวิธีระบบอาณานิคมมด.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ,6,40-48.
[6] Dorigo M, Birattari M, Stutzle T. Ant colony optimization. IEEE Comput. Intell. Mag. 2006; 1(4):28–39.
[7] ระพีพันธ์ ปิตาคะโส (2554). วิธีการเมตาฮิวริสติก เพื่อแก้ไขปัญหาการวางแผนการผลิตและการจัดการโลจิสติกส์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
[8] สุพรรณ สุดสนธิ์ และ สมบัติ สินธุเชาวน์ (2553). วิธีระบบมดแบบแม๊ก-มิน สำหรับการจัดเส้นทางพาหนะขนส่ง กรณีศึกษา: โรงงานน้ำดื่มธารธิพย์. วิศวกรรมสาร มข, 37(2), เมษายน – มิถุนายน 2553, หน้า 141-149.