การพัฒนากระดาษห่ออาหารจากเส้นใยเชื้อรา Trametes versicolor ที่มีแป้งมันสำปะหลังผสมน้ำมันหอมระเหยจากมะนาวเป็นสารเคลือบเพื่อต้านเชื้อรา

Main Article Content

Narumol Matan

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระดาษห่ออาหารจากเส้นใยของเชื้อรา Trametes versicolor ที่เลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อจากเปลือกกล้วยในปริมาณ 2 ถึง 10 กรัม ในน้ำ 100 มิลลิลิตร เมื่อนำเส้นใยที่ได้มาขึ้นรูปเป็นกระดาษแล้วนำไปเคลือบด้วยแป้งมันสำปะหลังผสมน้ำมันหอมระเหยจากมะนาวในปริมาณ 1 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ (w w-1) ก่อนนำมาทดสอบการต้านทานเชื้อรา 3 สายพันธุ์บนผิวกระดาษ ได้แก่ เชื้อรา Aspergillus niger  เชื้อรา Aspergillus flavus และเชื้อรา Penicillium chrysogenum (เชื้อราที่แยกได้จากผิวหน้าของกระดาษที่พัฒนาขึ้น) จากนั้นจึงนำกระดาษที่พัฒนาขึ้นและมีสารเคลือบจากแป้งมันสำปะหลังผสมน้ำมันหอมระเหยมาบรรจุข้าวกล้องเพื่อหาความเป็นไปได้ในการยับยั้งเชื้อราบนผิวหน้าของข้าวกล้อง ผลการทดลองพบว่าเปลือกกล้วยในปริมาณตั้งแต่ 6 กรัมขึ้นไปในน้ำ 100 มิลลิลิตร ให้ปริมาณเส้นใยของเชื้อราสายพันธุ์ T. versicolor ในระหว่างช่วง 0.225±0.066 กรัม ถึง 0.245±0.061 กรัม ซึ่งเทียบเท่ากับอาหารเลี้ยงเชื้อชุดควบคุมทางการค้า นอกจากนั้นยังพบว่าสารเคลือบกระดาษจากแป้งมันสำปะหลังที่ผสมน้ำมันหอมระเหยมะนาวที่ความเข้มข้น 7.5 เปอร์เซ็นต์ (w w-1) สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราทั้งสามชนิดที่นำมาทดสอบบนผิวของกระดาษและสามารถยับยั้งเชื้อราตามธรรมชาติที่พบบนผิวหน้าของกระดาษที่เก็บไว้ในสภาวะเร่งที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 100 เปอร์เซ็นต์จากเดิม 1 สัปดาห์ได้นานกว่า 12 สัปดาห์อีกด้วย และยังพบว่ากระดาษที่ผ่านการเคลือบด้วยน้ำมันหอมระเหยจากมะนาวที่ 7.5 เปอร์เซ็นต์ (w w-1) สามารถยืดอายุการเก็บรักษาข้าวกล้องจากเดิม 5 วัน เป็นเวลานานกว่า 30 วันโดยไม่พบเชื้อราตามธรรมชาติบนผิวหน้าของข้าวกล้องที่ห่อด้วยกระดาษที่พัฒนาขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย