การประเมินความปลอดภัยในการก่อสร้างโครงการประเภทอาคารสูง

Main Article Content

sunun - monkaew

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความปลอดภัยในการก่อสร้างโครงการประเภทอาคารสูง แบบประเมินความปลอดภัยถูกพัฒนาขึ้นโดยอ้างอิงมาจากกฎกระทรวงแรงงาน ประกอบด้วย 8 หัวข้อ คือ (1) เขตก่อสร้าง  (2) ไฟฟ้าและการป้องกันอัคคีภัย (3) ปั้นจั่น (4) ลิฟต์ชั่วคราว (5) เครื่องเชื่อม (6) การตกจากที่สูง (7) นั่งร้านและบันไดชั่วคราว และ (8) การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล จากการประเมินความปลอดภัยของสถานที่ก่อสร้างประเภทอาคารขนาดใหญ่มีพื้นที่เกิน 2,000 ตารางเมตร และมีความสูงตั้งแต่ 23.00 ม. ขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 20 โครงการ พบว่า ภาพรวมความปลอดภัยทั้ง 8 รายการประเมินมีค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 80 อยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยความปลอดภัยเกี่ยวกับเขตก่อสร้างมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และความปลอดภัยเกี่ยวกับการตกจากที่สูงมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะเจ้าของโครงการ และผู้รับเหมา  ต้องให้ความสำคัญกับงานทางด้านความปลอดภัยในการป้องกันอันตรายเกี่ยวกับการตกจากที่สูงเพื่อลดความสูญเสียทั้งทรัพย์สิน ชีวิต และชื่อเสียงของบริษัท

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Monkaew, S., Nawalerspunya, T. and Taemthong, W. 2015. Effect of Safety Measures to Construction Productivity for Wall Plastering Activity. Industrial Technology Lampang Rajabhat University Journal 8(1): 79-91.(in Thai)
[2] Monkaew, S. and Nawalerspunya, T. 2017. Effect of Safety Measures on the Productivity of Column Reinforcement. Thaksin University Journal 20(1): 48-56. (in Thai)
[3] Tam, C., and lvan, W.H. 1998. “Effectiveness of Safety Management Strategies on Safety Performance in Hong Kong”. Journal of Construction Management Economic. 16(1): 49-55.
[4] Rafiq, M., Fang D. and Syed, M. 2008. “Safety Management in Construction: Best Practices in Hong Kong”. Journal of Professional Issues in Engineering Education and Practice. 134: 20-32.
[5] Syed., M., Jack, C. And Lerrick, T. 2000. “Site Safety Management in Hong Kong”. Journal of Management in Engineering. 1: 34-42.
[6] Jimmie, H. and Charles, H. 1981. “Safety Programs in Large Construction Firms”. Journal of Construction Division. 107: 455-467.
[7] Department of Labour Protection and Welfare. 2001. Guidelines for Documentation Safety Management in Construction. Bangkok : Ministry of Labour. (in Thai)
[8] Occupation Safety and Health Division. 1999. Construction Safety Management Practice. Bangkok : Ministry of Labour. (in Thai)
[9] Monkaew, S. and Taemthong, W. 2006. Construction Safety Audit for Building Projects. In: The Proceedings of the 11th National Convention on Civil Engineering, 20-22 April 2006, Phuket. (in Thai)
[10] Al-Anbari, Khalina A., Ali Alnuaimi, Normariah A, Yahya A. 2013. “Safety and Health Risk Assessment at Oman Building Construction Projects”. International Journal of Research in Engineering and Technology. 2: 571-577.
[11] Monkaew, S. 2006. Construction Site Safety Audit. M.Ce. Thesis, King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok. (in Thai)
[12] Lerschayantee, A. 1996. Research Statistics. Bangkok : Chulalongkorn University Press. (in Thai)