การวางแผนกระบวนการผลิตชิ้นงานสามมิติด้วยวัสดุ ABS ในเครื่อง FDM ภายใต้การวิเคราะห์แบบล้อมกรอบข้อมูลและเทคนิคการเรียงลำดับการตัดสินใจ

Main Article Content

Kasin Ransikarbum
กิตติ วิเศษลา

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์การวางแผนการผลิตด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ (3DP) โดยพิจารณาปัญหาการเลือกตำแหน่งบนเครื่อง 3DP ซึ่งอายุงานของเครื่องพิมพ์ที่ใช้มีผลกระทบต่อตำแหน่งที่เหมาะสมบนแป้นพิมพ์ และตำแหน่งของชิ้นงานบนเครื่องพิมพ์ที่แตกต่างกันส่งผลต่อคุณลักษณะของชิ้นงานที่ได้ โดยทำการออกแบบการทดลองจากปัจจัยทางด้านทิศตามแกน X และ Y และด้านตำแหน่งของฐานแป้นพิมพ์ (หน้า-F, กลาง-M, หลัง-B, ซ้าย-L, และขวา-R) โดยกำหนดความหนาแน่นของชิ้นงานที่ 25% 50% และ 100% และทำซ้ำสองครั้งในแต่ละการทดสอบรวม 36 การทดลอง โดยพิจารณาจากปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการผลิตด้วยวัสดุ ABS แบบเทคโนโลยีหัวฉีด (FDM) จากปัจจัยนำเข้าสามปัจจัย ได้แก่ปริมาณวัสดุที่ใช้ ต้นทุนในการผลิต เวลาที่ใช้ในการผลิต และปัจจัยนำออกห้าปัจจัย ได้แก่ค่าความเรียบผิว ค่าความเที่ยงตรง ค่า % การยึดตัว ค่าทนแรงดึง และค่าความแข็ง ซึ่งการวิเคราะห์ประสิทธิภาพโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบล้อมกรอบข้อมูล พบว่ากลุ่มที่มีค่าคะแนนประสิทธิภาพเท่ากับ 1 มี 15 หน่วยการทดลอง (DMU) และอีก 3 DMU มีค่าน้อยกว่า 1 จากนั้นจึงใช้เทคนิค Bodar count ในการวิเคราะห์ค่าน้ำหนักของปัจจัยและเทคนิคการเรียงลำดับการตัดสินใจ ในการวิเคราะห์เพื่อหาทางเลือกตำแหน่งการผลิตที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งพบว่าทางเลือกที่ดีที่สุดคือ DMU 2 โดยเป็นการผลิตที่ระดับความหนาแน่นที่ 25% ในแนวแกน X ตำแหน่งตรงกลางของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งผลที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการผลิตสำหรับงาน 3DP ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในอนาคตต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ วิเศษลา วัฒนา จันทะโคตร นิรุทธิ์ วัฒนะแสง และกสิณ รังสิกรรพุม (2561ก) แนวโน้มงานวิจัยและการพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติใน
ประเทศไทย. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ, 23-26 กรกฎาคม, อุบลราชธานี, หน้า 1635-1639
กิตติ วิเศษลา นิรุทธิ์ วัฒนะแสง วัฒนา จันทะโคตร และกสิณ รังสิกรรพุม (2561ข) การตัดสินใจเพื่อหา ประสิทธิภาพของกระบวนการขึ้นรูปด้วยการพิมพ์แบบ 3 มิติด้วยเครื่อง
FDM โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบล้อมกรอบข้อมูล. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ 12, 12-13 กรกฎาคม, อุบลราชธานี, หน้า 25-35
กสิณ รังสิกรรพุม (2018) เอกสารประกอบการสอนวิชา Advanced Manufacturing ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
กสิณ รังสิกรรพุม ธน ทองกลม กิตติ วิเศษลา แพรวนภา รักงาม สุริยา สมนึก และจักรภัทร ศรีโสภา (2561). การศึกษาประสิทธิภาพและความเป็นไปได้ในการผลิตส่วนประกอบ
ของขาเทียมด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลการพิมพ์แบบ 3 มิติ, งานประชุมวิชาการวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ 7 เรื่อง “ทิศทางและ
การพัฒนาระบบสุขภาพไทย”, 31 สิงหาคม, อุบลราชธานี, หน้า 110-116
กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิ และเสรี ประทีบ. (2553) การประยุกต์ใช้ต้นแบบรวดเร็วทางการแพทย์เพื่อการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของร่างกาย วิศวกรรมชีวการแพทย์.
https://bit.ly/2M4dmrb. 4 กันยายน, 2561.
จิราพร บุษภาพ, ฝนทิพย์ ครองยุติ, คมชาญ สืบอ้วน, และกสิณ รังสิกรรพุม (2561). การวิเคราะห์การผลิตที่เหมาะสมจากการผลิตแบบดั้งเดิมและแบบพิมพ์สามมิติด้วยเครื่องมือ
การทำการตัดสินใจแบบหลายปัจจัย, การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ (IE Network), 23-26 กรกฎาคม, อุบลราชธานี, หน้า 317-322
จุฑามาศ พุฒนาค และสุมิตตา จาดคา. (2553) รายงานการวิจัยการศึกษาแนวโน้มค่าความคลาดเคลื่อนของขนาดชิ้นงานค่าความกลมของชิ้นงานทรงกระบอกเมื่อวางในทิศทาง
และขนาดของชิ้นงานต่างกันโดยใช้เครื่องผลิตต้นแบบรวดเร็ว. ตาก: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก.
ถนัดกิจ ศรีโชค ตะวันฉาย โพธิ์หอม และ ระพีพันธ์ ปิตาคะโส. (2017) ออกแบบและพัฒนาด้ามจับเครื่องมือตัดสำหรับงานกลึง โดยใช้เทคนิค การกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ,
Journal of Industrial Technology Ubon Ratchathani Rajabhat University, 7(2), pp. 117-131
ทิวากร อภิรักษ์ธนากร และ คุณยุต เอี่ยมสอาด. (2552) รายงานการวิจัยการสร้างเครื่องสร้างต้นแบบแบบรวดเร็วโดยใช้หยดนํ้า. กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปริศนา บุญศักดิ์. (2556) รายงานการวิจัยปัญหาในงานหล่อและพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาในงานหล่อเครื่องประดับสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ยุต เอี่ยมสอาด และกิตตินาถ วรรณิสสร. (2553) รายงานการวิจัย การขึ้นรูปแม่พิมพ์แบบรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีการ ขึ้นรูปทีละชั้น. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
Aydogan, E. K. (2011). Performance measurement model for Turkish aviation firms using the rough-AHP and TOPSIS methods under fuzzy environment.
Expert Systems with Applications, 38, 3992–3998.
Chen, C. T., Lin, C. T., & Huang, S. F. (2006). A fuzzy approach for supplier evaluation and selection in supply chain management. International Journal of
Production Economics, 102, 289–301.
Cooper, et al. Charnes. (1978). Measuring the efficiency of decision making units. European Journal of Operational Research,
2(6), 429-444.
Kahraman, C., Engin, O., Kabak, O., & Kaya, I. (2009). Information systems outsourcing decisions using a group decision-making approach. Engineering
Applications of Artificial Intelligence, 22, 832–841
M. Behzadian et al. (2012). A state-of the-art survey of TOPSIS applications. Industrial Engineering Department, 2012 Expert Systems with
Applications 39 13051–13069
Ransikarbum, K., & Kim, N. (2017, April). Data envelopment analysis-based multi-criteria
decision making for part orientation selection in fused deposition modeling. In Industrial Engineering and Applications (ICIEA), Japan, 2017 4th
International Conference on (pp. 81-85). IEEE.
Ransikarbum, K., & Kim, N. (2017, December). Multi-criteria selection problem of part orientation in 3D fused deposition modeling based on
analytic hierarchy process model: A case study. In Industrial Engineering and Engineering Management (IEEM), Singapore, 2017 IEEE International
Conference on (pp.1455-1459). IEEE.
Joompha, W and Pianthong, N (2016), Development of Durian Chips Product by Apply of Quality Function Deployment, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2561 (หน้า 204-218)
WOHLERS, T., CAFFREY, T., and CAMPBELL, R.I., 2016. Executive summary of the Wohlers Report 2016. Fort Collins, Colorado: Wohlers.