ผลการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตและการเจริญเติบโตของกะเพราในพื้นที่ดินเค็ม ระดับปานกลางจังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
กะเพราเป็นพืชผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อการบริโภคภายในประเทศและต่างประเทศ การศึกษาการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตกับกะเพราในพื้นที่ดินเค็มระดับปานกลางจังหวัดสุรินทร์ จึงมีความสำคัญในเรื่องของการใช้พื้นที่ในจังหวัดสุรินทร์ที่มีปัญหาดินเค็ม ให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาผลผลิตการปลูกกะเพรา ในพื้นที่ดินเค็มระดับปานกลาง 2. ศึกษาการใช้อัตราปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกที่เหมาะสมแก่การปลูกกะเพรา ในพื้นที่ดินเค็มระดับปานกลาง โดยทำการปลูกในดินเค็มระดับปานกลาง (5.42-6.29 เดซิซีเมนส์/เมตร) วางแผนการทดลองในแปลงทดลองแบบสุ่มบล็อคสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design : RCBD) มี 3 ซ้ำ 4 ตำรับการทดลอง คือ ตำรับที่ 1. ไม่ใส่ปุ๋ย (ชุดควบคุม) ตำรับที่ 2. การใส่ปุ๋ยคอก+แกลบ อย่างละ 8,000 กิโลกรัม/ไร่ รองพื้น แต่งหน้าด้วยการใส่ปุ๋ยคอก 8,000 กิโลกรัม/ไร่ ตำรับที่ 3. การใส่ปุ๋ยคอก+แกลบ อย่างละ 8,000 กิโลกรัม/ไร่ รองพื้น แต่งหน้าด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 เสริม อัตรา 4,000 กิโลกรัม/ไร่ และตำรับที่ 4. การใส่ปุ๋ยคอก+แกลบ อย่างละ 8,000 กิโลกรัม/ไร่ รองพื้น แต่งหน้าด้วยสูตร 13-13-21 เสริม อัตรา 4,000 กิโลกรัม/ไร่ โดยมีการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของกะเพรา ประกอบไปด้วย การเจริญเติบโตด้านความสูง ทรงพุ่ม และผลผลิตน้ำหนักสดของกะเพรา ทุกๆเดือน จากการศึกษาพบว่า ตำรับการทดลองที่ 2 การใส่ปุ๋ยคอก+แกลบดิบ อย่างละ 8,000 กิโลกรัม/ไร่ รองพื้น และแต่งหน้าด้วยการใส่ปุ๋ยคอก 8,000 กิโลกรัม/ไร่ มีผลต่อการเจริญเติบโตด้านความสูงของกะเพราและผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวมากที่สุด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% โดยมีผลผลิตด้านความสูงและผลผลิตสูงที่สุดคือ 62.0 เซนติเมตรและ 1,120 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับการทดลองอื่น ๆ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว