ประสบการณ์ดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีและครอบครัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีและครอบครัวในจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีและครอบครัว 64 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การให้ความหมายต่อโรคในมุมมองของผู้ป่วยและครอบครัว ได้แก่ “ไม่มีอาการเตือน”“ รู้เร็วหายเร็ว”“รักษาไม่หาย”และ“เป็นโรคเวรกรรม” 2) พฤติกรรมการดูแลตนเอง ได้แก่ การกินปลาดิบ การกินยาถ่ายพยาธิประจำ การไปตรวจคัดกรองโรค และการดูแลไม่ต่อเนื่อง 3) ปัญหาและความต้องการ ประกอบด้วย ไม่มีเงินค่าตรวจวินิจฉัยโรค วัฒนธรรมการกินปลาดิบ ยังไม่ตระหนัก อุจจาระลงในแหล่งน้ำ ไม่มีผู้ดูแล หนี้สิน และการเดินทางไปรักษาไกล และ 4) เงื่อนไขในการดูแลตนเอง คือ การช่วยเหลือจากชุมชน ความเชื่อต่อโรค และวัฒนธรรมการกินปลาดิบ ผลการศึกษาให้ข้อเสนอเพื่อเสริมศักยภาพของผู้ป่วยและครอบครัวในการปรับเปลี่ยนวีถีชีวิตการกินปลาดิบที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค และข้อเสนอสถานบริการสุขภาพเพื่อการออกแบบกลไกการเข้าถึงบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีและให้การดูแลตามความต้องการดูแลตามกลุ่มประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว