ผลของพอลิบิวทิลีนอะดิเพท-โค-เทเรฟทาเลทต่อคุณสมบัติ เส้นใยพอลิแล็คไทด์ด้วยกระบวนการอิเล็กโตรสปินนิ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของพอลิบิวทิลีนอะดิเพท-โค-เทเรฟทาเลท ต่อคุณสมบัติเส้นใยพอลิแล็คไทด์ ด้วยกระบวนการอิเล็กโตรสปินนิ่ง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมและประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ได้ โดยการละลายพอลิแล็คไทด์ และพอลิบิวทิลีนอะดิเพท-โค-เทเรฟทาเลทในสารละลายคลอโรฟอร์ม ในอัตราส่วน คลอโรฟอร์มต่อพอลิแล็คไทด์ร้อยละ 90/10 โดยน้ำหนัก หลังจากนั้นนำสารละลายพอลิแล็คไทด์ต่อพอลิบิวทิลีนอะดิเพท-โค-เทเรฟทาเลทผสมกันในอัตราส่วน 100/0, 90/10, 70/30, 50/50 , 30/70, 10/90 และ 0/100 เมื่อกลายเป็นสารละลายแล้วนำมาผลิตเป็นเส้นใยด้วยกระบวนการอิเล็กโตรสปินนิ่ง โดยใช้ปัจจัยหลักที่มีค่าเหมาะสมคือ ระยะห่างระหว่างหลอดบรรจุสารละลายพอลิเมอร์กับวัสดุรองรับ 15 เซนติเมตร โดยมีแรงดันไฟฟ้าใช้คือ 15 กิโลโวลต์ จากการทดลองพบว่า เมื่อนำเส้นใยมาทดสอบสมบัติทางกล ทดสอบเสถียรภาพทางความร้อน ทดสอบสมบัติทางความร้อน และศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา พบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณของพอลิบิวทิลีนอะดิเพท-โค-เทเรฟทาเลทในพอลิแล็คไทด์จะช่วยเพิ่มเสถียรภาพทางความร้อนมากขึ้น ระยะยืดเพิ่มขึ้น และความเป็นผลึกลดลง โดยผลการทดสอบแรงดึงพบว่าพอลิแล็คไทด์ มีค่าความเครียด 13 และเมื่อผสมพอลิบิวทิลีนอะดิเพท-โค-เทเรฟทาเลทในพอลิแล็คไทด์ ปริมาณ 10% ทำให้ความเครียดเพิ่มขึ้นเป็น 19 อย่างไรก็ตามเมื่อปริมาณพอลิบิวทิลีนอะดิเพท-โค-เทเรฟทาเลทเพิ่มขึ้น ทำให้ขนาดเส้นใยเพิ่มขึ้น
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว