คุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อ และประสิทธิภาพของใบหม่อนในการเป็นอาหารเสริมต่อการเจริญเติบโตและความต้านทานเชื้อ Aeromonas hydrophila ในปลานิล

Main Article Content

รัชนีกรณ์ มาพะเนาว์
วิไลลักษณ์ เครือเนตร
ณัฎฐา นิธิกุลวรวงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดใบหม่อนในการต้านเชื้อแบคทีเรีย Aeromanas hydrophila และประสิทธิภาพของใบหม่อนต่อการเจริญเติบโตและความต้านทานเชื้อ A. hydrophila ในปลานิล โดยใช้แอลกอฮอลล์ความเข้มข้น 95% เป็นตัวทำละลายในการสกัดใบหม่อน ผลการทดลองทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดใบหม่อน พบว่า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณที่มีการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (inhibition zone) เท่ากับ 10.77+0.25 มิลลิเมตร และมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (MIC) เท่ากับ 2,785 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่ไม่พบระดับความเข้มข้นใดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MBC) ได้ นอกจากนั้น ทำการทดลองโดยนำใบหม่อนผสมกับอาหารเม็ดสำเร็จรูปในอัตราที่แตกต่างกัน 4 ระดับ คือ 0, 5, 10 และ 15 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นนำมาเลี้ยงปลานิลขนาดเริ่มต้นที่น้ำหนัก2.34±0.82 กรัม และ ความยาว 5.56±0.23 เซนติเมตร โดยให้อาหารให้กินจนอิ่ม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ อัตราการแลกเนื้อ ประสิทธิภาพการใช้อาหาร อัตราการรอดตาย อัตราส่วนประสิทธิภาพของโปรตีน และค่าดัชนีตับในทุกชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) นอกจากนี้ผลการทดลองต่อความต้านทานเชื้อ A.hydrophila พบว่าปลาที่ได้รับอาหารผสมใบหม่อน 15 % มีอัตราการตายต่ำสุดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างชุดการทดลอง (P<0.05) และมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสัมพัทธ์ของปลา (RPS) สูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย