การพัฒนาหนังสือเสียงสองภาษาเพื่อส่งเสริมทักษะการฟัง สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น

Main Article Content

นฤมล อินทิรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการเนื้อหาสำหรับออกแบบหนังสือเสียง
2) เพื่อออกแบบหนังสือเสียงสองภาษาที่ส่งเสริมทักษะการฟังสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น 3) เพื่อพัฒนาอุปกรณ์สำหรับการอ่านเนื้อหาของหนังสือเสียง 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
ที่มีต่อหนังสือเสียง เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์ความต้องการด้านเนื้อหาในการออกแบบหนังสือเสียง
2) หนังสือเสียงสองภาษา 3) อุปกรณ์ตัวอ่านข้อมูลหนังสือเสียง และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า 1) เนื้อหาที่มีความเหมาะสมสำหรับเด็กมีความบกพร่องทางการมองเห็นชั้นอนุบาลหนึ่ง คือ เนื้อหาเกี่ยวกับพยัญชนะภาษาอังกฤษ A ถึง Z โดยมีหมวดหมู่คำศัพท์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับสัตว์หลายชนิด
2) ผลการออกแบบหนังสือเสียง ทำให้ได้ภาพคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับสัตว์จำนวน 26 ชนิด 3) ผลการพัฒนาอุปกรณ์สำหรับการอ่านข้อมูลของหนังสือเสียง พบว่า การทำงานของอุปกรณ์ที่ประกอบด้วย Arduino UNO, โมดูล MP3 และโมดูล NFC สามารถอ่าน Tag ที่ซ่อนอยู่ในหนังสือได้ครบ และสามารถอ่านไฟล์เสียงชนิด MP3 ที่ตรงกับ Tag ดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง และ 4) ผลการประเมินความพึงพอใจของเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นที่มีต่อการใช้หนังสือเสียงมีความพึงพอใจเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 2.86, S.D. = 0.35)

Article Details

บท
บทความวิจัย