การพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวเพื่อตรวจวัดคุณภาพน้ำผ่านระบบเครือข่ายระยะไกลแบบอัตโนมัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาระบบสมองกลฝังตัวเพื่อตรวจวัดคุณภาพน้ำผ่านระบบเครือข่ายระยะไกลแบบอัตโนมัติสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง (2) การประเมินประสิทธิภาพของระบบ และ(3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ ในการประเมินประสิทธิภาพของระบบใช้วิธีเปรียบเทียบความแตกต่างการตรวจวัดค่าดัชนีคุณภาพน้ำระหว่างผู้เชี่ยวชาญและระบบ จำนวน 3 ค่า ซึ่งได้แก่ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (Dissolved Oxygen) ความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำ (pH) และอุณหภูมิของน้ำ (Temperature) ในการเก็บข้อมูลค่าดัชนีคุณภาพน้ำ มีการควบคุมปัจจัยด้าน วัน เวลาและสถานที่ แบบเดียวกันโดยใช้การทดสอบ ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 31 คน ผลจากการวิจัยพบว่า การพัฒนาระบบแบ่งองค์ประกอบเป็น 3 ส่วนคือ (1) ระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำแบบอัตโนมัติ (2) ระบบรายงานผลคุณภาพน้ำ และ(3) ระบบแจ้งเตือนคุณภาพน้ำแบบอัตโนมัติ ประสิทธิภาพของระบบเมื่อทำการเปรียบเทียบความแตกต่างการตรวจวัดค่าดัชนีคุณภาพน้ำระหว่างผู้เชี่ยวชาญและระบบ พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 และความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบมีค่าเท่ากับ 4.09 ซึ่งอยู่ในระดับมาก
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว