“นาหญ้า” อาชีพทางเลือกสำหรับเกษตรกรไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและศึกษาข้อมูลความเป็นไปได้ในการทำนาหญ้าเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ เพื่อเป็นอาชีพทางเลือกให้กับเกษตรกรที่สนใจ โดยศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การผลิตพืชอาหารสัตว์หรือหญ้า วิธีการปลูก การจัดการ สถานการณ์การผลิต ต้นทุนการผลิต และผลตอบแทนที่ได้รับจากการทำนาหญ้าเพื่อจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ ซึ่งพบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนสัตว์เคี้ยวเอื้องเพิ่มขึ้นในขณะที่พื้นที่ปลูกพืชอาหารสัตว์เพื่อใช้เลี้ยงสัตว์กลับมีน้อยลง โดยในแต่ละปียังต้องการพืชอาหารสัตว์เพิ่มอีกประมาณ 16 – 17 ล้านตัน ถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของสัตว์ ส่งผลให้มีความต้องการเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์เพื่อใช้ในการปลูกสร้างแปลงพืชอาหารสัตว์หรือแปลงหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ปริมาณผลผลิตเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ทั้งประเทศยังมีปริมาณที่น้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร ดังนั้นโอกาสที่จะปลูกพืชอาหารสัตว์เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่ายยังมีความเป็นไปได้ ประกอบกับการปลูกสร้างแปลงหญ้ามีวิธีการปลูก การจัดการ และวิธีการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ต่างจากพืชชนิดอื่นมากนัก และมีข้อดีคือ เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย ไม่ต้องใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช ต้นทุนการผลิตอยู่ในระดับปานกลางใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าพืชชนิดอื่นที่นิยมปลูกกัน นอกจากนั้นเกษตรกรยังสามารถมีรายได้เสริมจากการขายหญ้าสดในช่วงก่อนปิดแปลงเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ หรือสามารถตัดหญ้าสดไปเลี้ยงสัตว์ได้ ดังนั้นการทำนาหญ้าเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่ายจึงเป็นอีกหนึ่งอาชีพทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับเกษตรกร
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว