นิเวศวิทยาของเห็ดเผาะในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

สุพัตรา เจริญภักดี บดีรัฐ

บทคัดย่อ

การศึกษานิเวศวิทยาของเห็ดเผาะในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามระยะเวลา 3 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2560 เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่นเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน โดยทำการสำรวจ เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลระบบนิเวศของต้นยางนาที่เกิดดอกเห็ดเผาะ ลักษณะสัณฐานวิทยาของเห็ดเผาะ ปริมาณธาตุอาหารในดินที่พบเห็ดเผาะ ปริมาณน้ำฝน ความชื้นในดินบริเวณที่พบเห็ดเผาะ และปริมาณน้ำฝน ผลวิจัยพบว่า มีต้นยางที่ปลูกติดกับคลองน้ำจำนวน 235 ต้น มีดอกเห็ดเผาะเกิดขึ้นใต้ร่มเงาที่โปร่งแสงของต้นยางนาเพียง 3 ต้น ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559-2560 โดยพบเห็ดเผาะหนัง (Astraeus odoratus Phosri, Watling, M.P Martin & Whalley) เพียงชนิดเดียว ในปี พ.ศ. 2560 ดอกเห็ดเกิดขึ้นจำนวนมาก นับได้ 102 ดอก และมีขนาดเฉลี่ย 2.2-4.2 เซนติเมตร มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณน้ำฝน (1,587.5 มิลลิเมตร) ความชื้นในดิน (18-28%) และปริมาณธาตุอาหารในดินที่เหมาะสม (ไนโตรเจน 0.12% ฟอสฟอรัส 3.19% และโพแทสเซียม 7,231.41%)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย