การศึกษาอาการปวดเมื่อยโครงร่างและกล้ามเนื้อของพ่อค้าส่งผลไม้ ตลาดเจริญศรี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ยุพยง หมั่นกิจ
กติกา สระมณีอินทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสุขภาพเบื้องต้นและปัจจัยด้านท่าทางในการทำงานที่สัมพันธ์กับอาการปวดเมื่อยโครงร่างและกล้ามเนื้อของพ่อค้าส่งผลไม้ ในตลาดเจริญศรี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-Square ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างพ่อค้าส่งผลไม้ อายุ 19-63 ปี เฉลี่ย 40.40 ปี มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง 25.00-29.99 กก./ม2 จัดอยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างมีลักษณะท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ได้แก่ ท่าทางการทำงานทั่วไปที่ส่งผลต่ออาการปวดเมื่อยโครงร่างและกล้ามเนื้อ ท่าทางการทำงานที่ผิดปกติ การเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ และการออกแรงยกของขณะทำงาน มีอาการปวดเมื่อยโครงร่างและกล้ามเนื้อ ร้อยละ 87.50 โดยมีอาการปวดหลายส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะที่บริเวณคอ ไหล่ หลังส่วนบน หลังส่วนล่าง และมือ/ข้อมือ ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าปัจจัยสุขภาพเบื้องต้นกับอาการปวดเมื่อยโครงร่างและกล้ามเนื้อของพ่อค้าส่งผลไม้ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ แต่พบว่าโรคประจำตัว มีความสัมพันธ์กับอาการปวดเมื่อยโครงร่างและกล้ามเนื้อในบริเวณเท้าอย่างมีนัยสำคัญ (p-value = 0.02) นอกจากนี้ การศึกษายังพบว่าปัจจัยลักษณะท่าทางการทำงานมีความสัมพันธ์กับอาการปวดเมื่อยโครงร่างและกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ หลังส่วนบน หลังส่วนล่าง สะโพก/ต้นขาอย่างมีนัยสำคัญ (p-value = 0.04, 0.03, 0.02, 0.02 ตามลำดับ)

Article Details

บท
บทความวิจัย