Development of Durian Chips Product by Apply of Quality Function Deployment
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ทุเรียนทอดกรอบโดยใช้เทคนิคการแปลงหน้าที่ทางคุณภาพ ระเบียบวิธีในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยได้ดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณกับลูกค้าที่ซื้อทุเรียนทอดจำนวนทั้งสิ้น 384 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายระหว่างเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2559 เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นข้อกำหนดรายละเอียดความต้องการของลูกค้า เพื่อแปลงเป็นข้อกำหนดทางเทคนิคในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพทุเรียนทอดกรอบ กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการรวบรวมความคิดของผู้บริโภคในการแปลงเป็นข้อกำหนดรายละเอียดทางเทคนิค โดยข้อมูลที่ได้จากการประยุกต์ใช้เทคนิค QFD ในเฟสที่ 1 การวางแผนผลิตภัณฑ์ในรูปแบบบ้านคุณภาพ (HOQ) พบว่า 5 คุณลักษณะทางคุณภาพของทุเรียนทอดที่สำคัญ ซึ่งเป็นความต้องการของลูกค้า ได้แก่ มีกลิ่นแบบธรรมชาติ มีความกรอบ มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน และ มีรสชาติแบบธรรมชาติ และเมื่อทำการแปลงเป็นข้อกำหนดทางเชิงเทคนิคที่ต้องปรับปรุง พบว่า ข้อกำหนดทางเทคนิคที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ การอบหลังจากการทอดและการอบก่อนส่งมอบลูกค้าหรือขายปลีก การพัฒนาและปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ การปรับปรุงรสชาติให้มีความหลากหลาย และ ระยะเวลาเก็บรักษามีความเหมาะสม และ การคัดเกรดทุเรียน นอกจากนี้ข้อค้นพบที่สำคัญ ประกอบด้วย ความตระหนักในการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดรายละเอียดทางเทคนิค ประโยชน์ของงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลรองรับการวิจัยผลิตภัณฑ์ และออกแบบเครื่องมือสำหรับการออกแบบกระบวนการผลิตอาหาร การควบคุมคุณภาพ การบริหารจัดการต้นทุนการผลิต และ การกำหนดความต้องการของลูกค้าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทุเรียนทอดกรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว