การตรวจสอบความเหมาะสมของการจัดกลุ่มข้อมูลอนุกรมเวลา

Main Article Content

ทิพยา ถินสูงเนิน
มาโนช ถินสูงเนิน
กิตติศักดิ์ เกิดประสพ
นิตยา เกิดประสพ

บทคัดย่อ

ปัญหาที่สำคัญสำหรับการจัดกลุ่มข้อมูลอนุกรมเวลาคือการไม่ทราบจำนวนกลุ่มที่เหมาะสมในการจัดกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลอนุกรมเวลาที่ไม่ทราบกลุ่มที่แท้จริง ข้อมูลอนุกรมเวลาเป็นข้อมูลที่มีคุณสมบัติที่น่าสนใจหลายอย่าง ทั้งขนาดข้อมูล รูปร่างของอนุกรม โครงสร้าง หรือโมเดล เป็นต้น คุณสมบัติเหล่านี้สามารถทำให้อนุกรมเวลาถูกจัดกลุ่มได้แตกต่างกัน สองเทคนิคพื้นฐานที่นิยมใช้ในการพิจารณาจำนวนกลุ่มที่เหมาะสมสำหรับการจัดกลุ่มโดยทั่วไปได้แก่ ซิลลูเอ็ต และค่าผลรวมความผิดพลาด ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการจัดกลุ่มข้อมูลอนุกรมเวลา                ในงานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการสำหรับตรวจสอบความเหมาะสมของการจัดกลุ่มข้อมูลอนุกรมเวลา โดยอาศัย ซิลลูเอ็ต และค่าผลรวมความผิดพลาดเป็นพื้นฐาน ร่วมกับการแทนอนุกรมเวลาด้วยตัวแทนขององค์ประกอบ ในการทดลองใช้ทั้งข้อมูลสังเคราะห์และข้อมูลจริงจำนวนทั้งหมด 3 ชุดข้อมูล เปรียบเทียบผลการทดลองกับวิธีการวัดความคล้ายคลึง 6 วิธี และจัดกลุ่มด้วยเทคนิคแบบลำดับชั้น และแบบแบ่งแยก ผลการวิจัยพบว่าวิธีที่นำเสนอสำหรับใช้ตรวจสอบจำนวนกลุ่มที่เหมาะสมจะให้ผลสอดคล้องกันทั้งซิลลูเอ็ต และผลรวมความผิดพลาด รวมทั้งมีความคล้ายคลึงกันอย่างมีความหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย