ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทย และสร้างตัวแบบที่เหมาะสมที่สุด โดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบขั้นตอน เมื่อตัวแปรตามคือปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทย ซึ่งแบ่งเป็น รถยนต์นั่ง รถกระบะ รถตู้และรถโดยสาร และรถบรรทุก ตัวแปรอิสระที่ใช้ศึกษา ได้แก่ อัตราการว่างงานของผู้มีกำลังแรงงาน (X1) ราคายางพารา (X2) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (X3) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารพาณิชย์ (X4) จำนวนประชากร (X5) ราคาน้ำมันดีเซลโดยเฉลี่ย (X6) และราคาน้ำมันเบนซินโดยเฉลี่ย (X7) ซึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิประเภทอนุกรมเวลารายไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2548 ถึงไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2558 จำนวน 43 ไตรมาส ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทย มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของรถ ดังนี้ 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในประเทศไทย คือ ราคาน้ำมันดีเซลโดยเฉลี่ย และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ โดยมีตัวแบบรถยนต์นั่งเป็น = -121,694.987 + 2,542.079X6 + 0.607X3 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณการจำหน่ายรถกระบะในประเทศไทย คือ ราคายางพารา และอัตราการว่างงานของผู้มีกำลังแรงงาน โดยมีตัวแบบรถกระบะเป็น = 4,167.744 + 28.953X2 - 1,453.562X1 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณการจำหน่ายรถตู้และรถโดยสารในประเทศไทย คือ อัตราการว่างงานของผู้มีกำลังแรงงาน โดยมีตัวแบบรถตู้และรถโดยสารเป็น = 143,490 – 33,123.018X1 และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณการจำหน่ายรถตู้และรถโดยสารในประเทศไทย คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ โดยมีตัวแบบรถบรรทุกเป็น = -2,512.65 + 0.044X3
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว