พฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดนัดสุขใจ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

พรพิมล สระทองปัง
พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง
คนึงรัตน์ คำมณี
จิรัฐินาฏ ถังเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ และ 2) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการตลาดนัดสุขใจ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) จากผู้บริโภคที่มาเดินเลือกซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ จำนวน 70 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์มามากกว่า 1 ปี ด้านพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดนัดสุขใจ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุเหตุผลด้านสุขภาพในการเลือกซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดยตนเองเป็นผู้ตัดสินใจซื้อ ส่วนความถี่ในการเลือกซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดนัดสุขใจส่วนใหญ่ระบุว่ามาเป็นประจำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งมาเลือกซื้อสินค้าประเภทอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทาน ด้านความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อคุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดนัดสุขใจ กลุ่มตัวอย่างระบุว่ามีความพึงพอใจมาก ส่วนความพึงพอใจต่อความหลากหลายของสินค้าอยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่จำนวนเงินที่ใช้จ่ายในการซื้อสินค้าแต่ละครั้งกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งระบุว่าน้อยกว่า 350 บาท ด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุว่า การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และข้อมูลที่ได้รับจากการประชาสัมพันธ์ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ ขณะที่ความสวยงามของบรรจุภัณฑ์กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งระบุว่าไม่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย