การเตรียมหมู่ซัลโฟนิกบนคาร์บอนที่ได้จากชีวมวลเพื่อใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ในการผลิตไบโอดีเซล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้ศึกษาการเตรียมหมู่ซัลโฟนิกบนคาร์บอน (C-SO3H) ที่ได้จากวัสดุชีวมวลคือ ฟางข้าว, ซังข้าวโพด และใบสับปะรด เพื่อใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธ์ชนิดกรดในการผลิตไบโอดีเซล โดยตัวเร่งปฏิกิริยาเตรียมได้จากนำวัสดุชีวมวลมาผ่าน ผ่านปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส ปฏิกิริยาคาร์บอไนเซชัน และ ปฏิกิริยาซัลโฟเนชัน จากการทดลองพบว่า C-SO3H ที่เตรียมจากฟางข้าวมีปริมาณหมู่กรดมากที่สุดคือ 0.4019 มิลลิโมลต่อกรัม และ เมื่อวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันของตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี(FT-IR) พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาที่เตรียมจากวัสดุชีวมวลทั้ง 3 ชนิด ปรากฎตำแหน่งของหมู่ (SO3H), หมู่ –COOH, หมู่ -OH ผลการวิเคราะห์พื้นที่ผิวจำเพาะ และขนาดของรูพรุน ด้วยเทคนิค BET พบว่า C-SO3H ที่เตรียมจากฟางข้าวมีพื้นที่ผิวจำเพาะสูงที่สุดเท่ากับ 241.53 m2/g และ มีขนาดรูพรุนเท่ากับ 3.14 nm ตามลำดับ สำหรับผลการศึกษาประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยา C-SO3H ที่เตรียมจากฟางข้าวในการเกิดปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน โดยทำการศึกษาที่อัตราส่วนโดยโมลของกรดโอเลอิก ต่อ เมทานอล (1:9) ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา 5 %wt ที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง พบว่า(สามารถผลิต)การเปลี่ยนแปลงเป็น ไบโอดีเซล (เมทิลโอเลเอท) ได้สูงถึง 88 เปอร์เซ็นต์
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว