การลดปริมาณแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio ในน้ำเสียจากนากุ้งด้วยต้นกระจับ

Main Article Content

สุบัณฑิต นิ่มรัตน์
ธีรวรรณ บุญโทแสง
วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย

บทคัดย่อ

ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาถึงการลดปริมาณแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio โดยใช้ต้นกระจับที่ระดับความหนาแน่นแตกต่างกัน 3 ระดับคือ 1, 2 และ 3 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ผลการศึกษาพบว่าในน้ำเสียจากนากุ้ง            ในวันแรกของการศึกษาพบแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio อยู่ในช่วง 4.00 ± 0.00 ถึง 6.28 ± 0.00 × 104 CFU/ml และ     ชุดการทดลองที่ใช้ต้นกระจับความหนาแน่นเท่ากับ 3 กิโลกรัมต่อตารางเมตร มีความสามารถในการลดปริมาณ Vibrio ได้ดีที่สุดในสัปดาห์สุดท้าย (สัปดาห์ที่ 4) ของการศึกษา  รองลงมาคือชุดการทดลองที่ 1, ชุดการทดลองที่ 2 และชุดควบคุม ตามลำดับ โดยพบปริมาณแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio เท่ากับ 2.28 ± 0.00 × 104, 9.28 ± 0.01 × 104, 2.03 ± 0.00 × 105 และ 2.63 ± 0.00 × 105 ตามลำดับ ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าการลดปริมาณแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio ในน้ำเสียจากนากุ้งที่เหมาะสมที่สุดในการศึกษาคือ ความหนาแน่นของต้นกระจับ 3 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

Article Details

บท
บทความวิจัย