การศึกษาการสกัดที่เหมาะสมและสมบัติทางเคมีกายภาพของสารสกัดจากหมากจอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ในงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาวิธีการสกัดที่เหมาะสมและสมบัติทางเคมีกายภาพของเจลจากสารสกัดหมากจอง โดยใช้อัตราส่วนของหมากจองต่อน้ำ 1:25, 1:50 และ 1:75 ที่อุณหภูมิ 40, 60 และ 80 องศาเซลเซียส และเวลา 1, 2 และ 3 ชั่วโมง
วางแผนการทดลองแบบ Central Composite Design (CCD) พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเจลหมากจอง คือ อัตราส่วนหมากจองต่อน้ำ 1:75 อุณหภูมิ 66 องศาเซลเซียส และเวลา 60 นาที ที่สภาวะเป็นกลาง (pH 6.5-7.0) ส่งผลให้เจลหมากจองมีค่าร้อยละการผลิต ความหนืด และความแข็งแรงของเจลสูงสุด น้ำตาลที่เป็นองค์ประกอบหลักคือ น้ำตาลอราบิโนส แรมโนส กาแลคโตส และมีน้ำตาลอื่น ๆ เพียงเล็กน้อย (กลูโคส ไซโรส และ แมนโนส) จากการศึกษาสมบัติของเจลหมากจองที่สกัดได้พบว่าเมื่อความเข้มข้นของเจลหมากจองเพิ่มขึ้นความหนืดและค่าความแข็งของเจลจะเพิ่มขึ้นโดยที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนเมื่อความเข้มข้นมากกว่าร้อยละ 0.75 การเติมเกลือ NaCl และ CaCl2 ทำให้ความหนืดของเจลหมากจองลดลงโดยเกลือทั้งสองชนิดให้ผลที่ไม่แตกต่างกัน น้ำตาลมีผลทำให้ความหนืดและค่าความแข็งของเจลเพิ่มขึ้น ที่ความเข้มข้นน้ำตาลร้อยละ 30 จะมีค่าความหนืดและค่าความแข็งของเจลสูงที่สุดและมีค่าลดลงเมื่อความเข้มข้นน้ำตาลสูงกว่าร้อยละ 30 เมื่อ pH มีค่าเพิ่มขึ้นค่าความหนืดและค่าความแข็งของเจลจะมีค่าเพิ่มขึ้น โดยที่ pH เท่ากับ 7 จะมีค่าความหนืดและค่าความแข็งของเจลสูงที่สุดและจะลดลงเมื่อ pH มากกว่า 7
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว