ผ้าไม่ทอพอลิพรอพิลีนที่ถูกเพิ่มหมู่ฟังก์ชันคาร์บอกซิเลทสำหรับการกำจัดไอออน ของแคดเมียม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้อธิบายการปรับปรุงวัสดุผ้าไม่ทอสังเคราะห์สำหรับการกำจัดไอออนของแคดเมียมจากน้ำเสีย ประสิทธิภาพด้านความจุในการจับกับแคดเมียมของผ้าพอลิพรอพิลีนก่อนและหลังการปรับปรุงด้วยหมู่ฟังก์ชันคาร์บอกซิลเลท ผ้าไม่ทอพอลิพรอพิลีนได้ถูกเพิ่มหมู่ฟังก์ชันด้วยการกราฟท์พอลิเมอร์ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยรังสีแกมมาของ
มอนอเมอร์ชนิดกรดอะคริลิกและกรดไอทาคอนิก ในงานวิจัยนี้ได้มีการศึกษาผลกระทบของปริมาณรังสีแกมมาและระยะเวลาในการให้ความร้อนในระหว่างการกราฟท์พอลิเมอร์ และมีการวิเคราะห์ทางสเปกโตรสโคปีเพื่อตรวจสอบคุณลักษณะของหมู่ฟังก์ชันของพอลิอะคริลิกแอซิดและพอลิไอทาคอนิกแอซิดที่ถูกปรับปรุงผ้าพอลิพรอพิลีนด้วย Attenuated total reflectance Fourier-transform infrared spectroscopy (ATR-FTIR) จากการตรวจสอบพบว่าสเปกตรัมจาก ATR-FTIR แสดงถึงหลักฐานของหมู่คาร์บอกซิลของผ้าพอลิพรอพิลีนหลังจากถูกกราฟท์ด้วย
พอลิอะคริลิกแอซิดเพียงเท่านั้น คุณภาพของเส้นใยและลักษณะสัณฐานวิทยาของพื้นผิวของเส้นใยพอลิพรอพิลีน
ทั้งก่อนและหลังการกราฟท์พอลิเมอร์ถูกวัดด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงกล้องและจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ประสิทธิภาพของผ้าไม่ทอพอลิพรอพิลีนทั้งก่อนและหลังการปรับปรุงด้วยพอลิอะคริลิกแอซิดได้ถูกตรวจสอบด้วยการทดสอบการซึมผ่านของน้ำ (water permeability) และการทดสอบหาค่าความจุในการดูดซับแคดเมียมแบบสถิต (static cadmium adsorption capacity) จากการทดสอบพบว่าการกำจัดแคดเมียมของผ้าพอลิพรอพิลีนทั้งก่อนและหลังการปรับปรุงด้วยพอลิอะคริลิกแอซิดมีค่าไม่ต่างกัน เนื่องจากการกราฟ์พอลิเมอร์มีผลกระทบต่อคุณสมบัติความชอบน้ำของวัสดุพอลิพรอพิลีนไม่เพียงพอ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว