สารต้านอนุมูลอิสระและสารสกัดหยาบเนียมหอมร่วมกับสมุนไพรพื้นบ้านยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคบางชนิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคของสมุนไพรเนียมหอม ตะไคร้ ใบเตย รางจืด และชาสมุนไพรทั้ง 4 สูตร ผลจากการทดสอบสารต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสารสกัดจากใบเตยมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดคือมีค่า IC50 8.45 µg/ml และพบว่าชาสมุนไพรสูตร1 มีค่าในการต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดคือมีค่า IC50 10.37 µg/ml และจากการทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหาร 6 ชนิด พบว่าสารสกัดจากสมุนไพรทั้ง 4 ชนิด และชาสมุนไพรทั้ง 4 สูตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกมากกว่าแบคทีเรียแกรมลบ และพบว่าสารสกัดจากตะไคร้ประสิทธิภาพต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้มากที่สุด 4 ชนิด สารสกัดชาสมุนไพรสูตรที่ 2 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทั้ง 6 ชนิด ได้ดีที่สุด ซึ่งสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. aureus ได้ดีที่สุด รองลงมาคือ B. cereus, Ps. aeruginosa, B. subtilis S. typhimurium และ P. mirabilis ตามลำดับ และจากการทดสอบพบว่าสารสกัดสมุนไพรเนียมหอมมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. aureus และ B. subtilis ได้ดีเทียบเท่าสารสกัดจากตะไคร้ และใบเตย
คำสำคัญ : อนุมูลอิสระ สมุนไพรเนียมหอม สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ แบคทีเรียก่อโรค
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
[2] Judprakob, C. and et al. 2013. Antioxidant and Antimutagenic Activities of Phellinus rimosus. In: Proceedings of the 5th Annual Northeast Phamacy Research, 16-17 February 2013. Khon Kaen University, Thailand.
[3] Koohsari H. and et al. 2013. Evaluation of antibacterial activity of Lemon verbena (Lippiacitriodora) leaves. Annals of Biological Research, 2013, 4 (10):52-55
[4] Molly J. S. and et al. 2013.Identification of intracellular bacteria in the basal plate of the human placenta in term and preterm gestations. American Journal of Obstetrics & Gynecology. 226e1-226e7.
[5] Mohd Fadzelly Abu Bakar. And et al. 2006. Anticarcinogenic Properties of Strobilanthes crispus Extracts and its Compounds in vitro. International Journal of Cancer Research, 2: 47-49.
[6] Suwanpugdee A. and et al. 2012. The inhibitory efficiency of the essential oil from lemon grass and citronella grass on the growth of Bovine mastitis pathogens: Staphylococcus aureus, Streptococcus agalactiae and Escherichia coli. KHON KAEN AGR. J. 40 (2) : 230-235. (in Thai)
[7] Temrangsee, P. 2011. Antibacterial Activity of Herbal Extracts against Clinical Isolates from Wound Infection. M.Sc. Thesis, Thammasay University. (in Thai)