ผลของราเอนโดไฟต์ที่สร้างกรดอินโดลอะซิติกต่อการเติบโตของต้นกล้ากระเจี๊ยบเขียว ในดินที่ปนเปื้อนไกลโฟเสต

Main Article Content

วิไลลักษณ์ โคมพันธุ์

บทคัดย่อ

ศึกษาผลของราเอนโดไฟต์ที่สร้างกรดอินโดลอะซิติก (IAA) ต่อการเติบโตของกระเจี๊ยบเขียวที่ปลูกในดินที่ปนเปื้อนไกลโฟเสต40 มิลลิโมลต่อกิโลกรัม โดยราเอนโดไฟต์ที่สามารถสร้าง IAA ได้ คือ Bb6 และ Bb7 สร้าง IAA ได้ 1.40´10-3 และ 0.56´10-3 โมลาร์ ตามลำดับ ซึ่งราเอนโดไฟต์ทั้งสองสายพันธุ์นั้นเมื่อจัดจำแนกชนิดแล้วพบว่าเป็น Corynespora cassiicola และ Colletotrichum gloeosporioides ตามลำดับ จากนั้นนำเมล็ดของกระเจี๊ยบเขียวกระตุ้นด้วยน้ำเลี้ยงราเอนโดไฟต์ คือ 1) แช่ด้วยน้ำกลั่นและรดด้วยน้ำประปา (T1)  2) แช่ด้วยอาหารเหลวเลี้ยงราและรดด้วยน้ำประปา (T2)  3) แช่ด้วยน้ำกลั่นและรดด้วยอาหารเหลวเลี้ยงรา เมื่อเมล็ดเริ่มงอก 1 ครั้ง (T3)  4) แช่และรดด้วยอาหารเหลวเลี้ยงรา เมื่อเมล็ดเริ่มงอก 1 ครั้ง (T4)  5) แช่ด้วยอาหาร PDB ผสมทริปโตแฟน 2 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร (PDB+T) และรดด้วยน้ำประปา (T5)  และ 6) แช่ด้วยน้ำกลั่นและรดด้วยอาหาร PDB+T เมื่อเมล็ดเริ่มงอก 1 ครั้ง (T6) เมล็ดจากแต่ละแบบนำไปเพาะทั้งในดินที่ปนเปื้อนและไม่ปนเปื้อนไกลโฟเสต ปลูกเป็นเวลา 13 วัน พบว่า ในดินที่ปนเปื้อนไกลโฟเสต อาหารเหลวเลี้ยง C. cassiicola ไม่สามารถส่งเสริมการเจริญของกระเจี๊ยบเขียวได้ แต่การแช่ด้วยอาหารเหลวเลี้ยงราและรดด้วยน้ำประปาการแช่และรดด้วยอาหารเหลวเลี้ยงรา และการแช่ด้วยอาหาร PDB+T และรดด้วยน้ำประปาทำให้ปริมาณคลอโรฟิลล์เอของกระเจี๊ยบเขียว ที่ปลูกในดินที่ปนเปื้อนไกลโฟเสตไม่แตกต่างกับดินที่ไม่ปนเปื้อนไกลโฟเสต เมื่อเปรียบเทียบการกระตุ้นเมล็ดกระเจี๊ยบเขียวในดินที่ปนเปื้อนไกลโฟเสตเพียงอย่างเดียว พบว่า ช่วยส่งเสริมการสร้างคลอโรฟิลล์เอ และคลอโรฟิลล์บีได้ โดยการกระตุ้นเมล็ดด้วยการแช่และรดด้วยอาหารเหลวเลี้ยงราทำและการแช่ด้วยอาหารเหลวเลี้ยงราและรดด้วยน้ำประปา ในขณะที่ C. gloeosporioides ไม่ส่งเสริมการเติบโตของยอดราก และการสร้างคลอโรฟิลล์ของกระเจี๊ยบเขียวได้ ดังนั้นอาหารเหลวเลี้ยง C. gloeosporioides ไม่สามารถส่งเสริมการเจริญของกระเจี๊ยบเขียว แต่อาหารเหลวเลี้ยง C. cassiicola สามารถป้องกันการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ เอ ของกระเจี๊ยบเขียวที่ปลูกในดินที่ปนเปื้อนไกลโฟเสต 40 มิลลิโมลต่อกิโลกรัม ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย